พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เหรียญหล่อยอดขุ...
เหรียญหล่อยอดขุนพลหลวงพ่อเฟื่องวัดสัมพันธวงศ์2481 พิธีวัดราชบพิธ2481
หลวงพ่อจาดพ่อจงพ่อคงพ่ออี๋ เสก
เป็นเนื้อสำริดทองแดงเถื่อน มีสินแร่อย่างอื่นปนอยู่ในเนื้อโลหะอยู่มาก คลาสสิคมาก

พระยอดขุนพล หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์ พิธีพุทธาภิเษกวัดราชบพิธปี 2481 (แม่ชีบุญเร ือน ร่วมอธิฐานจิต)
พระครูวินัยธร (เฟื่อง ญาณปทีโป ) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ชาติภูิท่านเป็นชาวตำบลบางแก้ว อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีพระครูศิริปัญญามุนี (เทวนิโภ อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยธร (อิ่ม) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ทำอุปัชฌาวัตรพรรษาแรก จากนั้นจึงได้มาศึกษาพระธรรมวินัย สำนักวัดสัมพันธวงศ์ ในสมัยที่ท่านเจ้าคุณ พระพินิจวินัย (แจ้ง ปิยสีโล) เป็นเจ้าอาวาส
พระครูวินัยธร (เฟื่อง ญาณปทีโป) นับเป็นพระคณาจารย์ ที่มีความเชี่ยวชาญในพระเวทย์ วิทยาคมสูงยิ่งองค์หนึ่ง บรรดาศิษย์ทั้งหลายมักจะเรียกท่านว่า " หลวงพ่อวัดเกาะ " ท่านสงเคราะห์สาธุชนทั่วไปอย่างไม่เลือกชั้นวรรณะ มีพลังจิตแก่กล้า สามารถรักษาได้ แม้คนวิกลจริต ด้านเมตตามหานิยมก็ไม่เป็นรองใครเลย ทั้งนี้เพราะท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมมาจาก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก เทพเจ้าแห่งเมืองแปดริ้วนั่นเอง ท่านได้สร้างพระเครื่องเพื่อแจกจ่ายแก่บรรดาสานุศิษย์ไว้มากมาย เช่น พระร่วงทรงพล เนื้อโลหะ ซึ่งท่านได้นำเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่ วัดราชบพิธ ปี2481 และภายหลังยังได้สร้างพระพิมพ์เนื้อดิน ไว้อีกมากมายหลายพิมพ์ พระครูวินัยธร (เฟื่อง ญาณปทีโป) ได้ถึงแก่กาลมรณภาพ ด้วยอาการอันสงบ ณ กุฏิพูลวินิต วัดสัมพันธวงศ์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2500 เวลา 12.05 นาฬิกา รวมสิริชนมายุได้ 65 ปี พรรษา 45
พิธีพุทธาภิเษกวัดราชบพิธปี 2481 มีพระเกจิอาจารย์มาร่วมดังนี้ครับ
สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุุุทัศน์ฯ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต เป็นประธานในพิธี พระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสกจำนวน 108 ท่าน... พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งรุ่นนี้นับเป็นหนึ่งในพิธีปลุกเสกใหญ่ที่ได้รับการกล่าวขานถึงในฐานะพิธีแห่งประวัติศาสตร์ ความยิ่งใหญ่อลังการของพิธีอยู่ที่การรวมพลังพระเกจิอาจารย์ชั้นสุดยอด ณ ช่วงเวลานั้น... รายนามพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี ได้แก่
สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ,
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทร์,
หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา,
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก,
หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม,
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ,
หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว,
หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง,
หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่,
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก,
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ,
หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก,
หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง,
หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง,
หลวงพ่อเลียบ วัดเลา, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้,
พระปลัดมา วัดราชบูรณะ,
พระอาจารย์พา วัดระฆัง ฯลฯ

คำอธิบายภาพหมู่
๒๑ ยอดพระอริยคณาจารย์
พระอริยสงฆ์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง
ในยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามอินโดจีน

ในพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดราชบพิธฯ กรุงเทพฯ
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ปีขาล

:b8: :b8: :b8:

:b39: แถวนั่ง จากซ้าย :
๑. พระเทพสิทธินายก (หลวงพ่อเลียบ ปุญญสิริ) วัดเลา จ.ธนบุรี (กรุงเทพฯ)
๒. พระวิสุทธิรังษี (หลวงปู่เปลี่ยน อินฺทสโร) วัดใต้ (วัดไชยชุมพลชนะสงคราม) จ.กาญจนบุรี
๓. พระอาจารย์ปลื้ม เขมจิตฺโต วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
๔. พระครูธรรมสุนทร (หลวงปู่จันทร์ สุภัทโท) วัดบ้านยาง จ.ราชบุรี
๕. หลวงพ่อเเช่ม พรหมสโร วัดตาก้อง จ.นครปฐม
๖. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมเจดีย์” วัดสระเกศ จ.พระนคร (กรุงเทพฯ)
๗. พระธรรมธาดาจารย์ (หลวงพ่อแนบ) วัดระฆังโฆสิตาราม จ.ธนบุรี (กรุงเทพฯ)
๘. พระครูนันทธีราจารย์ (หลวงพ่อเหลือ นันทสาโร) วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา
๙. พระครูสิทธิสารคุณ (หลวงพ่อจาด คังคสโร) วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี

:b39: แถวยืน จากซ้าย :
๑๐. พระครูอาคมสุนทร (หลวงพ่อมา คังคปัญโญ) วัดราชบูรณะ จ.พระนคร (กรุงเทพฯ)
๑๑. พระครูอโศกธรรมสาร (หลวงพ่อโศก สุวัณโณ) วัดปากคลองบางครก จ.เพชรบุรี
๑๒. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (หลวงพ่อรุ่ง ติสสโร) วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
๑๓. พระครูโสภณศาสนกิจ (หลวงปู่กลิ่น จันทรังสี) วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี
๑๔. พระอาจารย์แฉ่ง ศิลปัญญา วัดบางพัง (วัดศรีรัตนาราม) จ.นนทบุรี
๑๕. พระญาณไตรโลกาจารย์ (ฉาย คังคสุวัณโณ) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา
๑๖. พระครูไกรสรประสิทธิคุณ (หลวงพ่อจันทร์ เกสโร) วัดคลองระนง จ.นครสวรรค์
๑๗. พระอาจารย์จันทร์ จันทโชติ วัดนางหนู (วัดมุกสิกกาวาส) จ.ลพบุรี
๑๘. พระครูรัตนรังษี (หลวงพ่อพุ่ม จันทโชโต) วัดบางโคล่นอก จ.พระนคร (กรุงเทพฯ)
๑๙. หลวงพ่อจง พุทฺธสโร วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา
๒๐. พระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋ พุทฺธสโร) วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี
๒๑. หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม

:b8: :b8: :b8:

:b50: :b42: :b50: หมายเหตุ : วัดราชบพิธฯ มีพิธีมหาพุทธาภิเษก ดังนี้
๑. ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖
๒. ครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ เป็นการสร้างเหรียญฉลองพระชนมายุ ๗๒ พรรษา
ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
๓. ครั้งที่สาม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ เป็นการสร้างเหรียญพระรูปเหมือนสมเด็จฯ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
โดยได้สร้างเหรียญพระกริ่งสองหน้า, เหรียญรูปไข่หันข้าง, เหรียญฉัตร และแหวนมงคลเก้า
โดยเหรียญพระกริ่งสองหน้ามีลักษณะไม่เหมือนกันกับปี พ.ศ.๒๔๘๑
๔. ครั้งที่สี่ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑
เป็นการสร้างเหรียญพระรูปเหมือนสมเด็จฯ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
ซึ่งด้านที่มีพระแก้วมรกตประทับบนพระแท่นภายในซุ้มเรือนแก้ว เขียนว่า
“ครั้งที่ ๔ ๑๖ ธค. ๒๔๘๑” หมายถึง เป็นพิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ ๔ ของวัดราชบพิธฯ
ผู้เข้าชม
540 ครั้ง
ราคา
8500
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
พระเครื่องคลาสสิค
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
999xxx999xxx
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
โจ้ ลำนารายณ์เทพจิระkaew กจ.tintinเจริญสุขep8600
jochoponsrithong2Beerchang พระเครื่องchaithawatโกหมูยุ้ย พลานุภาพ
ponsrithongเปียโนบ้านพระหลักร้อยอ้วนซอยงูJohnny Tว.ศิลป์สยาม
Nithiporntplasมนต์เมืองจันท์AmuletManภูมิ IRaonsamui
ClassicpraBAINGERNLe29AmuletTotoTatoErawansomeman

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1335 คน

เพิ่มข้อมูล

เหรียญหล่อยอดขุนพลหลวงพ่อเฟื่องวัดสัมพันธวงศ์2481 พิธีวัดราชบพิธ2481



  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
เหรียญหล่อยอดขุนพลหลวงพ่อเฟื่องวัดสัมพันธวงศ์2481 พิธีวัดราชบพิธ2481
รายละเอียด
หลวงพ่อจาดพ่อจงพ่อคงพ่ออี๋ เสก
เป็นเนื้อสำริดทองแดงเถื่อน มีสินแร่อย่างอื่นปนอยู่ในเนื้อโลหะอยู่มาก คลาสสิคมาก

พระยอดขุนพล หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์ พิธีพุทธาภิเษกวัดราชบพิธปี 2481 (แม่ชีบุญเร ือน ร่วมอธิฐานจิต)
พระครูวินัยธร (เฟื่อง ญาณปทีโป ) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ชาติภูิท่านเป็นชาวตำบลบางแก้ว อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีพระครูศิริปัญญามุนี (เทวนิโภ อ่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระวินัยธร (อิ่ม) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ทำอุปัชฌาวัตรพรรษาแรก จากนั้นจึงได้มาศึกษาพระธรรมวินัย สำนักวัดสัมพันธวงศ์ ในสมัยที่ท่านเจ้าคุณ พระพินิจวินัย (แจ้ง ปิยสีโล) เป็นเจ้าอาวาส
พระครูวินัยธร (เฟื่อง ญาณปทีโป) นับเป็นพระคณาจารย์ ที่มีความเชี่ยวชาญในพระเวทย์ วิทยาคมสูงยิ่งองค์หนึ่ง บรรดาศิษย์ทั้งหลายมักจะเรียกท่านว่า " หลวงพ่อวัดเกาะ " ท่านสงเคราะห์สาธุชนทั่วไปอย่างไม่เลือกชั้นวรรณะ มีพลังจิตแก่กล้า สามารถรักษาได้ แม้คนวิกลจริต ด้านเมตตามหานิยมก็ไม่เป็นรองใครเลย ทั้งนี้เพราะท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมมาจาก หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก เทพเจ้าแห่งเมืองแปดริ้วนั่นเอง ท่านได้สร้างพระเครื่องเพื่อแจกจ่ายแก่บรรดาสานุศิษย์ไว้มากมาย เช่น พระร่วงทรงพล เนื้อโลหะ ซึ่งท่านได้นำเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกที่ วัดราชบพิธ ปี2481 และภายหลังยังได้สร้างพระพิมพ์เนื้อดิน ไว้อีกมากมายหลายพิมพ์ พระครูวินัยธร (เฟื่อง ญาณปทีโป) ได้ถึงแก่กาลมรณภาพ ด้วยอาการอันสงบ ณ กุฏิพูลวินิต วัดสัมพันธวงศ์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2500 เวลา 12.05 นาฬิกา รวมสิริชนมายุได้ 65 ปี พรรษา 45
พิธีพุทธาภิเษกวัดราชบพิธปี 2481 มีพระเกจิอาจารย์มาร่วมดังนี้ครับ
สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุุุทัศน์ฯ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต เป็นประธานในพิธี พระเกจิอาจารย์ร่วมปลุกเสกจำนวน 108 ท่าน... พิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งรุ่นนี้นับเป็นหนึ่งในพิธีปลุกเสกใหญ่ที่ได้รับการกล่าวขานถึงในฐานะพิธีแห่งประวัติศาสตร์ ความยิ่งใหญ่อลังการของพิธีอยู่ที่การรวมพลังพระเกจิอาจารย์ชั้นสุดยอด ณ ช่วงเวลานั้น... รายนามพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธี ได้แก่
สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ,
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทร์,
หลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา,
หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก,
หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม,
หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ,
หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว,
หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง,
หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่,
หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก,
หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ,
หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก,
หลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง,
หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง,
หลวงพ่อเลียบ วัดเลา, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้,
พระปลัดมา วัดราชบูรณะ,
พระอาจารย์พา วัดระฆัง ฯลฯ

คำอธิบายภาพหมู่
๒๑ ยอดพระอริยคณาจารย์
พระอริยสงฆ์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง
ในยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา หรือสงครามอินโดจีน

ในพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ วัดราชบพิธฯ กรุงเทพฯ
เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ปีขาล

:b8: :b8: :b8:

:b39: แถวนั่ง จากซ้าย :
๑. พระเทพสิทธินายก (หลวงพ่อเลียบ ปุญญสิริ) วัดเลา จ.ธนบุรี (กรุงเทพฯ)
๒. พระวิสุทธิรังษี (หลวงปู่เปลี่ยน อินฺทสโร) วัดใต้ (วัดไชยชุมพลชนะสงคราม) จ.กาญจนบุรี
๓. พระอาจารย์ปลื้ม เขมจิตฺโต วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
๔. พระครูธรรมสุนทร (หลวงปู่จันทร์ สุภัทโท) วัดบ้านยาง จ.ราชบุรี
๕. หลวงพ่อเเช่ม พรหมสโร วัดตาก้อง จ.นครปฐม
๖. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “พระธรรมเจดีย์” วัดสระเกศ จ.พระนคร (กรุงเทพฯ)
๗. พระธรรมธาดาจารย์ (หลวงพ่อแนบ) วัดระฆังโฆสิตาราม จ.ธนบุรี (กรุงเทพฯ)
๘. พระครูนันทธีราจารย์ (หลวงพ่อเหลือ นันทสาโร) วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา
๙. พระครูสิทธิสารคุณ (หลวงพ่อจาด คังคสโร) วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี

:b39: แถวยืน จากซ้าย :
๑๐. พระครูอาคมสุนทร (หลวงพ่อมา คังคปัญโญ) วัดราชบูรณะ จ.พระนคร (กรุงเทพฯ)
๑๑. พระครูอโศกธรรมสาร (หลวงพ่อโศก สุวัณโณ) วัดปากคลองบางครก จ.เพชรบุรี
๑๒. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (หลวงพ่อรุ่ง ติสสโร) วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
๑๓. พระครูโสภณศาสนกิจ (หลวงปู่กลิ่น จันทรังสี) วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี
๑๔. พระอาจารย์แฉ่ง ศิลปัญญา วัดบางพัง (วัดศรีรัตนาราม) จ.นนทบุรี
๑๕. พระญาณไตรโลกาจารย์ (ฉาย คังคสุวัณโณ) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา
๑๖. พระครูไกรสรประสิทธิคุณ (หลวงพ่อจันทร์ เกสโร) วัดคลองระนง จ.นครสวรรค์
๑๗. พระอาจารย์จันทร์ จันทโชติ วัดนางหนู (วัดมุกสิกกาวาส) จ.ลพบุรี
๑๘. พระครูรัตนรังษี (หลวงพ่อพุ่ม จันทโชโต) วัดบางโคล่นอก จ.พระนคร (กรุงเทพฯ)
๑๙. หลวงพ่อจง พุทฺธสโร วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา
๒๐. พระครูวรเวทมุนี (หลวงพ่ออี๋ พุทฺธสโร) วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี
๒๑. หลวงพ่อคง ธัมมโชโต วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม

:b8: :b8: :b8:

:b50: :b42: :b50: หมายเหตุ : วัดราชบพิธฯ มีพิธีมหาพุทธาภิเษก ดังนี้
๑. ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๖
๒. ครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๔ เป็นการสร้างเหรียญฉลองพระชนมายุ ๗๒ พรรษา
ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชมพูนุท สิริวฑฺฒโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
๓. ครั้งที่สาม เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๐ เป็นการสร้างเหรียญพระรูปเหมือนสมเด็จฯ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
โดยได้สร้างเหรียญพระกริ่งสองหน้า, เหรียญรูปไข่หันข้าง, เหรียญฉัตร และแหวนมงคลเก้า
โดยเหรียญพระกริ่งสองหน้ามีลักษณะไม่เหมือนกันกับปี พ.ศ.๒๔๘๑
๔. ครั้งที่สี่ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑
เป็นการสร้างเหรียญพระรูปเหมือนสมเด็จฯ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
ซึ่งด้านที่มีพระแก้วมรกตประทับบนพระแท่นภายในซุ้มเรือนแก้ว เขียนว่า
“ครั้งที่ ๔ ๑๖ ธค. ๒๔๘๑” หมายถึง เป็นพิธีพุทธาภิเษก ครั้งที่ ๔ ของวัดราชบพิธฯ
ราคาปัจจุบัน
8500
จำนวนผู้เข้าชม
541 ครั้ง
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
พระเครื่องคลาสสิค
URL
เบอร์โทรศัพท์
0945153697
ID LINE
999xxx999xxx
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
ยังไม่ส่ง ข้อมูลยืนยันตัวตน




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี