พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
สมเด็จกรุในบาตร...
สมเด็จกรุในบาตรหลวงพ่อโต(พระศรีอริยเมตตรัย) วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม พิมพ์ ๙ ชั้นหูบายศรี(นิยม)
ประวัติ :
พระสมเด็จในบาตรกรุพระศรีอริยเมตตรัย (หลวงพ่อโต ) วัดอินทรวิหาร กทม เมื่อปี พ.ศ. 2469 หม่อมเจ้าประสิทธิศักดิ์ จรูญโรจน์ คลังภาค 1 กรมบัญชีกลางกรุงเทพ ได้ไปหาพระครูสังฆบวร ที่วัดอินทรวิหาร ขอเช่าพระสมเด็จที่พบในหลวงพ่อโต พระครูได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้มาสำรวจหลวงพ่อโตวัดอินทร์ และทำการบูรณะ ช่างจีนที่ขึ้นไปเทปูนบอกว่ามีกระดูกผีอยู่ในองค์พระเมื่อนำมาดูปรากฏว่าเป็นพระสมเด็จทั้งสิ้น ท่านจึงให้โกยลงมา แตกหักชำรุดมาก เป็นพิมพ์ 5 ชั้น 6 ชั้น 7 ชั้น ที่หลวงเจียรนัยติว่าไม่งาม เจ้าพระคุณฯ จึงเอาไปบรรจุที่วัดไชโย อ่างทอง และบนองค์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ส่วนพระที่เสียหาย พระครูสังฆ์ได้บดผสมกดพิมพ์ใหม่แจกจ่ายคนที่มาทำบุญที่วัดอินทรวิหาร เรียกว่า สมเด็จพระครูสังฆ์ ที่มา บันทึกจากท่าน ตรียัมปวาย สืบเนื่องจากที่เคย ตั้งข้อสังเกตุไว้นานแล้วว่า พระกรุนี้มีที่ไปที่มาไม่ธรรมดา แม้พิมพ์ทรงนั้นจะไม่สวยงามเท่าแม่พิมพ์วัดระฆัง และบางขุนพรหม แต่เป็นพระที่มีเนื้อหา มวลสาร และมีอายุที่เก่ามาก ลองอ่านประวัติสมเด็จโตที่บันทึกโดยอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา ตอนที่ 8 มีกล่าวถึงการสร้างพระสมเด็จกรุวัดอินทรวิหาร http://www.luangputo.com/Menu01/Submenu01/Page01.htm "ครั้นถึงปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐ ปี ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลายามกับ ๑ บาท นาฬิกา สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา เถลิงถวัลยราชได้ ๑๗๖ เดือน กับ ๑๔ วัน เวลานั้นอายุสมเด็จได้ ๘๑ ปี เป็นสมเด็จมาได้ ๓ ปีเศษ เมื่อสมเด็จทราบแน่ว่า สมเด็จพระจอมเกล้าสวรรคตแล้ว ท่านเดินร้องไห้รอบวัด เดินบ่นไปด้วยร้องไห้ไปด้วยว่า สิ้นสนุกแล้วๆ ครั้งนี้ๆ สิ้นสนุกแล้ว เดินร้องไห้โฮๆ รอบวัดระฆัง ดังจนใครๆ ได้ยิน ครั้นสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเถลิงถวัลยราชสืบสันตติวงศ์แล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงทำพระพิมพ์ ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น ขึ้นอีก ตั้งใจจะถวายสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พิมพ์แล้วครั้งก่อนนั้น ได้แอบบรรจุไว้ในพระเกตุไชโยหมด แล้วพิมพ์พระ ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น รวมกันให้ได้ ๘๔๐๐๐ เท่ากับพระธรรมขันธ์ กำลังพิมพ์อยู่ วิธีกระทำเช่นครั้งก่อน แปลกแต่เสกข้าวในบาตรใส่ด้วย จารหนังสือใส่บาตรไปด้วย ไปบิณฑบาตรก็จารหนังสือไปด้วย แล้วทำผงลงตัวเขียนยันต์ ตำปูนเพ็ชรพิมพ์ไปทุกวันๆ กลางวันไปก่อเท้าพระวัดบางขุนพรหม เจริญทิวาวิหารธรรมด้วย ดูช่างเขียนออกแบบกะส่วนให้ช่างเขียนๆ ประวัติของท่านขึ้น ที่ผ่านมาแล้วแต่ต้นจนจบตลอด จนท่านนมัสการพระพุทธบาท ตั้งแต่เป็นพระมหาโตมา จนเป็นพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ยังขึ้นพระพุทธบาทตามฤดูเสมอ เมื่อครั้งทูลกระหม่อมพระ คือสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวชอยู่วัดถมอราย (ราชาธิวาส) ยังทรงซักถามพระมหาโตว่า ท่านเชื่อพระบาทลพบุรีเป็นของแท้หรือ พระมหาโตทูลว่า เป็นเจดีย์ที่น่าประหลาด เป็นที่ไม่ขาดสักการะ" พุทธลักษณะของสมเด็จ กรุวัดอินทร์ พิมพ์จะมีเส้นสายเล็กคล้ายเส้นด้ายหรือก้างปลา ซึ่งหลวงปู่ภูก็นำเอาเอกลักษณ์พิมพ์ดังกล่าว มาสร้างเป็นพระสมเด็จ หลวงปู่ภูภายหลัง พระสมเด็จ กรุวัดอินทรวิหาร (กรุหลวงพ่อโต วัดอินทร์ บางขุนพรหม) *ประวัติ...หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หรือ หลวงพ่อโตวัดอินทร์ กรุงเทพฯ “หลวงพ่อโต” หรือ “พระศรีอริยเมตไตรย” พระพุทธปฏิมากรยืนปางอุ้มบาตร วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2410 ก่อด้วยอิฐถือปูน หากดำเนินการการก่อสร้างไปได้เพียงครึ่งองค์ สูงเพียงพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ก็สิ้นชีพิตักษัย ณ ศาลาใหญ่ วัดบางขุนพรหมใน เป็นพระยืนอุ้มบาตรที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าท่านได้สอนยืนและเดินได้ที่นั่น ต่อมา พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ซึ่งร่วมสร้างหลวงพ่อโต กับสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) มาแต่ต้น ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2463 พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) มีอายุ 91 ปี พรรษาที่ 70 ชราภาพมากแล้ว จึงได้ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านจึงมอบฉันทะให้ พระครูสังฆบริบาล (แดง) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ช่วยบูรณปฏิสังขรณ์ต่อจากเดิม หากดำเนินก่อสร้างสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน อินฺทสโร) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระอินทรสมาจาร” ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2470 และได้จัดให้มีงานสมโภชเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท) เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ เปิดงานสมโภชองค์หลวงพ่อโต ในหนังสือ “ประวัติหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ปี พ.ศ. 2490” ได้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อโต ของพระอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) ไว้ว่า “ถึงปีชวด พ.ศ. 2467 พระครูอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูสังฆรักษ์ ย้ายมาจากวัดปรินายกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ได้จัดการสร้างพระโตต่อมา โดยเป็นประธานบอกบุญเรี่ยไรจากประชาชนทั่วไป ผู้ช่วยเหลือที่เป็นกำลังสำคัญของท่านพระครูอินทรสมาจาร ที่ควรกล่าวให้ปรากฏคือ เจ้าคุณและคุณหญิงปริมาณสินสมรรถ พระประสานอักษรกิจ สิบเอกอินทร์ พันธุเสนา และนางพลัด พันธุเสนา พระครูอินทรสมาจารทำการก่อสร้างอยู่ 4 ปี จึงสำเร็จสมบูรณ์ (สิ้นเงินประมาณ 10,000 บาท)” ตามประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) เป็นผู้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แต่ยังสร้างไม่เสร็จ คงสร้างค้างไว้เพียงถึงพระนาภี สูงประมาณ 9 วาเศษ พระครูจรรยานุกูล (หลวงปู่ภู)เจ้าอาวาสวัดอินทร์ จึงดำเนินการสร้างต่อแต่ก็ยังไม่เสร็จ พระครูสังฆบริบาล (แดง) ได้สร้างเพิ่มเติมได้สร้างต่อจบเกือบเสร็จ ขาดเพียงยอดพระเมาลี ได้องค์พระสูงประมาณ 16 วา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2467พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) เจ้าอาวาสได้ดำเนินการสร้างต่อมา ใช้เวลา 4 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อย และได้จัดให้มีงานสมโภช เมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ทางวัดได้จัดให้มีงานนมัสการและปิดทองพระโต ในเดือนมีนาคม และกำหนดเป็นเทศกาลประจำปีสืบมา ปัจจุบันมีงานฉลองพระพุทธรูปเป็นเทศกาลประจำปี ระหว่างวันที่ 1-7 เมษายน ของทุกปี เทศกาลประจำปีงานนมัสการและปิดทองพระโต หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์ เป็นประจำทุกปี จากที่ฟังๆผู้ใหญ่เขาเล่าต่อๆกันมาว่ากันว่าในขณะที่พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) จะได้เริ่มดำเนินการสร้างพระโตให้แล้วเสร็จ ได้มีการรื้อต้นโพธิ์และเศษวัสดุต่างๆที่รกร้างอยู่ด้านบนองค์พระ ก็ได้เจอกับพระสมเด็จจำนวนหนึ่งซึ่งวางอยู่ บางส่วนก็ตกลงมาแตกหักก็มีเยอะ ภายหลังท่านได้นำพระส่วนที่ชำรุดนี้ไปบดสร้างเป็นพระของท่าน จากหนังสือของตรียัมปวาย เขียนไว้นานมากแล้ว มีการพูดถึงพระสมเด็จกรุนี้เช่นกันว่า พระสมเด็จ กรุพระศรีอริยเมตตรัย (หลวงพ่อโต )วัดอินทรวิหาร เมื่อ ปี พ.ศ. 2469 หม่อมเจ้าประสิทธิศักดิ์ จรูญโรจน์ คลังภาค 1 กรม บัญชีกลางกรุงเทพ ได้ไปหาพระครูสังฆบวร ที่วัดอินทรวิหาร ขอเช่าพระสมเด็จที่พบในหลวงพ่อโต พระครูได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้มาสำรวจหลวงพ่อโตวัดอินทร์ และทำการบูรณะ ช่างจีนที่ขึ้นไปเทปูนบอกว่ามีกระดูกผีอยู่ในองค์พระ เมื่อนำมาดูปรากฏว่าเป็นพระสมเด็จทั้งสิ้น ท่านจึงให้โกยลงมา แตกหักชำรุดมาก เป็นพิมพ์ 3ชั้น, 5ชั้น, 6ชั้น, 7ชั้น, 9ชั้น ที่หลวงเจียรนัยติว่าไม่งาม ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯโต จึงเอาไปบรรจุที่วัดไชโย อ่างทอง และบนองค์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ส่วนพระที่เสียหาย พระครูสังฆ์ได้บดผสมกดพิมพ์ใหม่แจกจ่ายคนทีมาทำบุญที่วัดอินทรวิหาร เรียกว่า สมเด็จพระครูสังฆ์ พระสมเด็จกรุวัดอินทรวิหารนี้ เป็นพระเก่าแก่ ที่อยู่ในความสนใจช่วงหนึ่งของคนสมัยก่อนมาก พระสมเด็จที่พบคราวปฎิสังขรหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารนี้ เนื้อหาเก่าจัดจ้านดี ปัจจุบันเป็นพระหาชมยาก เป็นพระดีที่ถูกลืมที่ทันสมเด็จโต ใกล้จะเป็นตำนานกันแล้ว แต่ถ้าถามคนสมัยก่อนจะรู้จักกันดีเพราะเมื่อก่อนดังมากครับ
ผู้เข้าชม
3959 ครั้ง
ราคา
ขายแล้ว
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
พุทธชยันโต
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
Nuiboransilp
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
341-2-500xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
ภูมิ IRเจริญสุขmon37Le29Amuletพรคุณพระ99บ้านพระหลักร้อย
บ้านพระสมเด็จSuriyon6307somemanPutanarintonsomphopยุ้ย พลานุภาพ
BAINGERNpatcharee88PopgomesMuthitama_a_aukaew กจ.
หลังอานKittipantermboonเปียโนว.ศิลป์สยามLeksoi8
กัญญาณี(อี๊ด)โก้ สมุทรปราการrutchawansstp253หริด์ เก้าแสนErawan

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1132 คน

เพิ่มข้อมูล

สมเด็จกรุในบาตรหลวงพ่อโต(พระศรีอริยเมตตรัย) วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม พิมพ์ ๙ ชั้นหูบายศรี(นิยม)




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
สมเด็จกรุในบาตรหลวงพ่อโต(พระศรีอริยเมตตรัย) วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม พิมพ์ ๙ ชั้นหูบายศรี(นิยม)
รายละเอียด
ประวัติ :
พระสมเด็จในบาตรกรุพระศรีอริยเมตตรัย (หลวงพ่อโต ) วัดอินทรวิหาร กทม เมื่อปี พ.ศ. 2469 หม่อมเจ้าประสิทธิศักดิ์ จรูญโรจน์ คลังภาค 1 กรมบัญชีกลางกรุงเทพ ได้ไปหาพระครูสังฆบวร ที่วัดอินทรวิหาร ขอเช่าพระสมเด็จที่พบในหลวงพ่อโต พระครูได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้มาสำรวจหลวงพ่อโตวัดอินทร์ และทำการบูรณะ ช่างจีนที่ขึ้นไปเทปูนบอกว่ามีกระดูกผีอยู่ในองค์พระเมื่อนำมาดูปรากฏว่าเป็นพระสมเด็จทั้งสิ้น ท่านจึงให้โกยลงมา แตกหักชำรุดมาก เป็นพิมพ์ 5 ชั้น 6 ชั้น 7 ชั้น ที่หลวงเจียรนัยติว่าไม่งาม เจ้าพระคุณฯ จึงเอาไปบรรจุที่วัดไชโย อ่างทอง และบนองค์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ส่วนพระที่เสียหาย พระครูสังฆ์ได้บดผสมกดพิมพ์ใหม่แจกจ่ายคนที่มาทำบุญที่วัดอินทรวิหาร เรียกว่า สมเด็จพระครูสังฆ์ ที่มา บันทึกจากท่าน ตรียัมปวาย สืบเนื่องจากที่เคย ตั้งข้อสังเกตุไว้นานแล้วว่า พระกรุนี้มีที่ไปที่มาไม่ธรรมดา แม้พิมพ์ทรงนั้นจะไม่สวยงามเท่าแม่พิมพ์วัดระฆัง และบางขุนพรหม แต่เป็นพระที่มีเนื้อหา มวลสาร และมีอายุที่เก่ามาก ลองอ่านประวัติสมเด็จโตที่บันทึกโดยอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา ตอนที่ 8 มีกล่าวถึงการสร้างพระสมเด็จกรุวัดอินทรวิหาร http://www.luangputo.com/Menu01/Submenu01/Page01.htm "ครั้นถึงปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐ ปี ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลายามกับ ๑ บาท นาฬิกา สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระชนมายุได้ ๖๔ พรรษา เถลิงถวัลยราชได้ ๑๗๖ เดือน กับ ๑๔ วัน เวลานั้นอายุสมเด็จได้ ๘๑ ปี เป็นสมเด็จมาได้ ๓ ปีเศษ เมื่อสมเด็จทราบแน่ว่า สมเด็จพระจอมเกล้าสวรรคตแล้ว ท่านเดินร้องไห้รอบวัด เดินบ่นไปด้วยร้องไห้ไปด้วยว่า สิ้นสนุกแล้วๆ ครั้งนี้ๆ สิ้นสนุกแล้ว เดินร้องไห้โฮๆ รอบวัดระฆัง ดังจนใครๆ ได้ยิน ครั้นสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเถลิงถวัลยราชสืบสันตติวงศ์แล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) จึงทำพระพิมพ์ ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น ขึ้นอีก ตั้งใจจะถวายสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พิมพ์แล้วครั้งก่อนนั้น ได้แอบบรรจุไว้ในพระเกตุไชโยหมด แล้วพิมพ์พระ ๕ ชั้น ๗ ชั้น ๙ ชั้น รวมกันให้ได้ ๘๔๐๐๐ เท่ากับพระธรรมขันธ์ กำลังพิมพ์อยู่ วิธีกระทำเช่นครั้งก่อน แปลกแต่เสกข้าวในบาตรใส่ด้วย จารหนังสือใส่บาตรไปด้วย ไปบิณฑบาตรก็จารหนังสือไปด้วย แล้วทำผงลงตัวเขียนยันต์ ตำปูนเพ็ชรพิมพ์ไปทุกวันๆ กลางวันไปก่อเท้าพระวัดบางขุนพรหม เจริญทิวาวิหารธรรมด้วย ดูช่างเขียนออกแบบกะส่วนให้ช่างเขียนๆ ประวัติของท่านขึ้น ที่ผ่านมาแล้วแต่ต้นจนจบตลอด จนท่านนมัสการพระพุทธบาท ตั้งแต่เป็นพระมหาโตมา จนเป็นพระพุฒาจารย์ (โต) ก็ยังขึ้นพระพุทธบาทตามฤดูเสมอ เมื่อครั้งทูลกระหม่อมพระ คือสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงผนวชอยู่วัดถมอราย (ราชาธิวาส) ยังทรงซักถามพระมหาโตว่า ท่านเชื่อพระบาทลพบุรีเป็นของแท้หรือ พระมหาโตทูลว่า เป็นเจดีย์ที่น่าประหลาด เป็นที่ไม่ขาดสักการะ" พุทธลักษณะของสมเด็จ กรุวัดอินทร์ พิมพ์จะมีเส้นสายเล็กคล้ายเส้นด้ายหรือก้างปลา ซึ่งหลวงปู่ภูก็นำเอาเอกลักษณ์พิมพ์ดังกล่าว มาสร้างเป็นพระสมเด็จ หลวงปู่ภูภายหลัง พระสมเด็จ กรุวัดอินทรวิหาร (กรุหลวงพ่อโต วัดอินทร์ บางขุนพรหม) *ประวัติ...หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หรือ หลวงพ่อโตวัดอินทร์ กรุงเทพฯ “หลวงพ่อโต” หรือ “พระศรีอริยเมตไตรย” พระพุทธปฏิมากรยืนปางอุ้มบาตร วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2410 ก่อด้วยอิฐถือปูน หากดำเนินการการก่อสร้างไปได้เพียงครึ่งองค์ สูงเพียงพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ก็สิ้นชีพิตักษัย ณ ศาลาใหญ่ วัดบางขุนพรหมใน เป็นพระยืนอุ้มบาตรที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าท่านได้สอนยืนและเดินได้ที่นั่น ต่อมา พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ซึ่งร่วมสร้างหลวงพ่อโต กับสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พฺรหฺมรํสี) มาแต่ต้น ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2463 พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) มีอายุ 91 ปี พรรษาที่ 70 ชราภาพมากแล้ว จึงได้ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านจึงมอบฉันทะให้ พระครูสังฆบริบาล (แดง) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ช่วยบูรณปฏิสังขรณ์ต่อจากเดิม หากดำเนินก่อสร้างสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน อินฺทสโร) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระอินทรสมาจาร” ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2470 และได้จัดให้มีงานสมโภชเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท) เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ เปิดงานสมโภชองค์หลวงพ่อโต ในหนังสือ “ประวัติหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ปี พ.ศ. 2490” ได้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อโต ของพระอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) ไว้ว่า “ถึงปีชวด พ.ศ. 2467 พระครูอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูสังฆรักษ์ ย้ายมาจากวัดปรินายกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ได้จัดการสร้างพระโตต่อมา โดยเป็นประธานบอกบุญเรี่ยไรจากประชาชนทั่วไป ผู้ช่วยเหลือที่เป็นกำลังสำคัญของท่านพระครูอินทรสมาจาร ที่ควรกล่าวให้ปรากฏคือ เจ้าคุณและคุณหญิงปริมาณสินสมรรถ พระประสานอักษรกิจ สิบเอกอินทร์ พันธุเสนา และนางพลัด พันธุเสนา พระครูอินทรสมาจารทำการก่อสร้างอยู่ 4 ปี จึงสำเร็จสมบูรณ์ (สิ้นเงินประมาณ 10,000 บาท)” ตามประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) เป็นผู้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แต่ยังสร้างไม่เสร็จ คงสร้างค้างไว้เพียงถึงพระนาภี สูงประมาณ 9 วาเศษ พระครูจรรยานุกูล (หลวงปู่ภู)เจ้าอาวาสวัดอินทร์ จึงดำเนินการสร้างต่อแต่ก็ยังไม่เสร็จ พระครูสังฆบริบาล (แดง) ได้สร้างเพิ่มเติมได้สร้างต่อจบเกือบเสร็จ ขาดเพียงยอดพระเมาลี ได้องค์พระสูงประมาณ 16 วา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2467พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) เจ้าอาวาสได้ดำเนินการสร้างต่อมา ใช้เวลา 4 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อย และได้จัดให้มีงานสมโภช เมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ทางวัดได้จัดให้มีงานนมัสการและปิดทองพระโต ในเดือนมีนาคม และกำหนดเป็นเทศกาลประจำปีสืบมา ปัจจุบันมีงานฉลองพระพุทธรูปเป็นเทศกาลประจำปี ระหว่างวันที่ 1-7 เมษายน ของทุกปี เทศกาลประจำปีงานนมัสการและปิดทองพระโต หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์ เป็นประจำทุกปี จากที่ฟังๆผู้ใหญ่เขาเล่าต่อๆกันมาว่ากันว่าในขณะที่พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) จะได้เริ่มดำเนินการสร้างพระโตให้แล้วเสร็จ ได้มีการรื้อต้นโพธิ์และเศษวัสดุต่างๆที่รกร้างอยู่ด้านบนองค์พระ ก็ได้เจอกับพระสมเด็จจำนวนหนึ่งซึ่งวางอยู่ บางส่วนก็ตกลงมาแตกหักก็มีเยอะ ภายหลังท่านได้นำพระส่วนที่ชำรุดนี้ไปบดสร้างเป็นพระของท่าน จากหนังสือของตรียัมปวาย เขียนไว้นานมากแล้ว มีการพูดถึงพระสมเด็จกรุนี้เช่นกันว่า พระสมเด็จ กรุพระศรีอริยเมตตรัย (หลวงพ่อโต )วัดอินทรวิหาร เมื่อ ปี พ.ศ. 2469 หม่อมเจ้าประสิทธิศักดิ์ จรูญโรจน์ คลังภาค 1 กรม บัญชีกลางกรุงเทพ ได้ไปหาพระครูสังฆบวร ที่วัดอินทรวิหาร ขอเช่าพระสมเด็จที่พบในหลวงพ่อโต พระครูได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้มาสำรวจหลวงพ่อโตวัดอินทร์ และทำการบูรณะ ช่างจีนที่ขึ้นไปเทปูนบอกว่ามีกระดูกผีอยู่ในองค์พระ เมื่อนำมาดูปรากฏว่าเป็นพระสมเด็จทั้งสิ้น ท่านจึงให้โกยลงมา แตกหักชำรุดมาก เป็นพิมพ์ 3ชั้น, 5ชั้น, 6ชั้น, 7ชั้น, 9ชั้น ที่หลวงเจียรนัยติว่าไม่งาม ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯโต จึงเอาไปบรรจุที่วัดไชโย อ่างทอง และบนองค์หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ส่วนพระที่เสียหาย พระครูสังฆ์ได้บดผสมกดพิมพ์ใหม่แจกจ่ายคนทีมาทำบุญที่วัดอินทรวิหาร เรียกว่า สมเด็จพระครูสังฆ์ พระสมเด็จกรุวัดอินทรวิหารนี้ เป็นพระเก่าแก่ ที่อยู่ในความสนใจช่วงหนึ่งของคนสมัยก่อนมาก พระสมเด็จที่พบคราวปฎิสังขรหลวงพ่อโตวัดอินทรวิหารนี้ เนื้อหาเก่าจัดจ้านดี ปัจจุบันเป็นพระหาชมยาก เป็นพระดีที่ถูกลืมที่ทันสมเด็จโต ใกล้จะเป็นตำนานกันแล้ว แต่ถ้าถามคนสมัยก่อนจะรู้จักกันดีเพราะเมื่อก่อนดังมากครับ
ราคาปัจจุบัน
ขายแล้ว
จำนวนผู้เข้าชม
3960 ครั้ง
สถานะ
ขายแล้ว
โดย
ชื่อร้าน
พุทธชยันโต
URL
เบอร์โทรศัพท์
0622599965
ID LINE
Nuiboransilp
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
2. ธนาคารกสิกรไทย / 341-2-500xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี