|
ชื่อพระเครื่อง |
หลวงปู่เส็ง |
รายละเอียด |
✅ N 240
เหรียญหันข้างหลวงปู่เส็ง วัดบางนา จ.ปทุมธานี ปี ๒๕๒๗
เนื้อทองแดงรมดำ เหรียญจริงสถาพสวยเหมือนในรูปครับ
✅ ประวัติโดยย่อ
วัดบางนา และ หลวงปู่เส็ง จันทรังสี เทพเจ้าของชาวรามัญ
วัดบางนา เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลบางโพธิ์เหนือ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
วัดบางนาสร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๑๐ ในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและตอนต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาสายเถรวาท ทำให้ชาวมอญพร้อมใจสร้างวัดแห่งนี้ขึ้น วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ เดิมอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันตก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดบางนา ต่อมาย้ายร่นลงไปอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมา
วัดมีเสาหงส์อันเป็นสัญลักษณ์ของชาวมอญ อาคารเสนาสนะ ได้แก่ วิหารขนาดเล็กที่อยู่ห่างจากอุโบสถเพียงเล็กน้อย เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง 2 องค์ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ และกุฏิสงฆ์ มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีชื่อว่า พระพุทธทิพย์สุวรรณมุนี พระพุทธรูปก่ออิฐถือปูนซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างในราวสมัยกรุงศรีอยุธยา พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์และปางมารวิชัยที่มีการสร้างในรูปแบบก่ออิฐถือปูนและรอยพระพุทธบาทจำลอง อยู่ภายในวิหาร[1]
ในอดีตมีชื่อเสียงมีคนไปทำบุญที่วัดมากที่สุด เนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่ มีพระไปบวชศึกษาเล่าเรียนมาก พระที่วัดต่างก็ถือปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างเคร่งครัด ชาวบ้านจึงศรัทธาเลื่อมใสเข้าไปทำบุญกัน โดยเฉพาะ หลวงปู่เส็ง จันทรังสี อดีตเจ้าอาวาส ถือว่าเป็นพระที่ได้รับสมณศักดิ์รูปแรก และเป็นผู้เริ่มทำพระเครื่องวัตถุมงคลของวัดบางนาจนโด่งดัง
ในยุคของ หลวงปู่เส็ง จันทฺรังสี หรือพระครูธรรมสุนทร ซึ่งถือว่าเป็นพระสงฆ์ที่ได้รับสมณศักดิ์ รูปแรกของวัดบางนา จากทางคณะสงฆ์ อีกทั้งท่านเป็นผู้ริเริ่มทำพระเครื่องและวัตถุมงคลของวัดบางนา จนมีผู้รู้จักนิยมไปทั่ว ซึ่งก่อนหน้าหลวงปู่เส็ง ไม่มีสมภารองค์ใดเคยทำพระเครื่องและวัตถุมงคลใดๆ มาก่อน พื้นเพของหลวงปู่เส็ งเป็นคนละแวกวัดบางนา บ้านท่านอยู่ทางใต้วัด ติดคลองบางนา โยมพ่อชื่อ “จู“ เป็นชาวจีนล่องเรือสำเภาจากเมืองจีน มาอยู่ที่สามโคกใช้สกุล “แซ่บุญเซ็ง” โยมแม่ชื่อ “เข็ม” เป็นชาวรามัญ สมัยก่อนชาวบ้านย่านนั้น ยึดอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่ จนได้รับขนานนามหมู่บ้านว่า“บางนา”อาชีพรองลงมาก็คือการทำอิฐ, ทำตาล และค้าขาย ซึ่งทางบ้านของหลวงปู่เส็ง ก็ทำการค้าโดยขายของชำเล็กๆ น้อยๆ ในหมู่บ้าน ประกอบกับทำนาอีกส่วนหนึ่ง สำหรับประวัติส่วนตัวของหลวงปู่เส็ง ท่านไม่เคยเล่าให้ใครฟัง ทราบแต่เพียงว่าท่านเกิดเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๔๔ มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน พี่น้องของท่านเสียชีวิตด้วยโรคฝีดาษ เหลือเพียงท่านเท่านั้น ครั้นเมื่ออายุครบบวช ก็ได้เข้าอุปสมบทที่วัดบางนา ในปีพ.ศ.๒๔๖๕ โดยมีท่านเจ้าคุณรามัญมุนี หรือพระนันทมุนี วัดบางหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงปู่ทัด เจ้าอาวาสวัดบางนา ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าชายของท่าน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จันทรังสี” ภายหลังที่เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ ท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนบาลี และอักขระเลขยันต์จากพระอาจารย์ต่างๆ และยังได้ศึกษาภาษาขอม และภาษารามัญจนแตกฉาน นอกจากนี้ท่านก็ยังไปศึกษาวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงปู่เทียน วัดโบสถ์ ซึ่งท่านเป็นเกจิอาจารย์ที่ดังมากในยุคนั้นอีกด้วย หลวงปู่เส็งมีปฏิปทาในการใฝ่หาวิชาความรู้มาก ใครแนะนำสั่งสอนท่านก็จดจำไว้เป็นอย่างดี ท่านเชี่ยวชาญด้านภาษาขอมเป็นพิเศษ เรื่องอักขระเลขยันต์ต่างๆ ท่านเก่งมาก จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๔๘๖ หลวงปู่ทัด ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาส วัดบางนา ได้มรณภาพลงท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรักษาการเจ้าอาวาส สืบต่อในปี พ.ศ.๒๔๘๗ ซึ่งในขณะนั้นหลวงปูเส็งท่านกำลังเรียนนักธรรมอยู่พอดี จนสำเร็จและสอบนักธรรมชั้นเอกได้ ในปี พ.ศ.๒๔๘๙ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดบางนา อย่างเป็นทางการ ระหว่างที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสท่าน ให้การศึกษาแก่พระภิกษุ และสามเณรเป็นอย่างดี และในขณะเดียวกันนั้นท่านยังสานภารกิจต่อจากหลวงปู่ทัดในด้านการบูรณปฏิสังขรณ์วัด และสร้างโบสถ์ ให้สำเร็จลุล่วงตามเจตนารมณ์ของหลวงปู่ทัดจนวัดรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็ว
ในทุกๆปี หลวงปู่เส็งท่านมักจะออกธุดงค์ไปปริวาสกรรมมิได้ขาด ท่านเป็นคนพูดน้อย และไม่ค่อยพูด หรือว่ากล่าวผู้ใด เล่ากันว่าถ้าหลวงปู่ท่านว่างจากกิจหรืองานใดๆ ท่านมักจะนั่งนับหลับตาบริกรรมพระคาถา และนับลูกประคำที่ท่านคล้องอยู่ที่คออยู่ตลอด หลังจากที่ท่านปกครองวัดเรื่อยมาจนกระทั่งท่านอายุ ๖๕ ปี ท่านมีความคิดอยากจะสร้างวัตถุมงคล ก็เลยปรึกษาบรรดาลูกศิษย์ลูกหาใกล้ชิด จนได้ข้อสรุปว่าควรจัดสร้างเป็นพระสมเด็จเนื้อผง เป็นปางสมาธิฐาน 3 ชั้น ถือเป็นวัตถุมงคลรุ่นแรกของวัดบางนาที่ได้มีการจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๕๑๐ หลังจากนั้นก็ตามด้วยเหรียญรูปอาร์ม หรือใบเสมาคว่ำ ก็ถือเป็นเหรียญแรกและเหรียญรุ่นแรกนับแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐ เป็นต้นมา
หลังจากนั้นหลวงปู่เส็ง ท่านก็สร้างวัตถุมงคลในรูปแบบต่างๆ ออกมามากมาย โดยทุกปีจะสร้างออกมา 2-3 แบบ จนกระทั่งท่านมรณภาพลงในปี พ.ศ.๒๕๓๐ รวมระยะเวลาในการสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่ปรมาณ 20 ปีเห็นจะได้
วัตถุมงคลของหลวงปู่เส็ง ทุกรุ่นทุกแบบ ได้มีผู้ที่เลื่อมใสในตัวหลวงปู่ต่างมาบูชากันไปอย่างอย่างมากมาย เพื่อที่จะพกติดตัว เพราะต่างก็ได้ยินคำกล่าวขานและร่ำลือต่อๆกันมาว่า มีพุทธคุณเด่น ในทางแคล้วคลาด, เมตตามหานิยม และการค้าขายดีเยี่ยม
วัตถุมงคลของท่านที่นิยมๆ เท่าที่พอลำดับความได้ก็คือ
พระผงสมเด็จ 3 ชั้น รุ่นแรกปี ๒๕๑๐ มีทั้งหมด 5 สี คือ สีดำ เหลือง เขียว แดง และ ขาว
ท่านปลุกเสกเดี่ยวแล้วออกแจกจ่ายแก่ญาติโยมที่ไปหาท่าน
เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก เนื้อกะไหล่ทอง-เงิน และทองแดง ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปหลวงปู่ครึ่งองค์ มีอักษรเขียนว่า “อาจารย์เส็ง” ด้านหลังเป็นยันต์ ใต้ยันต์มีอักษรระบุชื่อวัดบางนา พ.ศ.๒๕๑๐
***สำหรับ พระผงที่ทำออกมานั้นส่วนใหญ่จะบรรจุตะกรุดสาริกาดอกเล็กๆ ไว้ที่ฐานด้วย เพื่อเสริมพุทธคุณ ส่วนพระผงรุ่นที่โด่งดังมากก็คือ รุ่นขี่หมู ซึ่งลูกศิษย์จัดสร้างแล้วมานำไปให้ท่านปลุกเสก และมอบให้ท่านไว้จำนวนหนึ่ง ซึ่งบรรดานักเล่น พระจะนิยมกันมาก
ส่วนวัตถุมงคล แนวเครื่องรางของขลังก็มี
หมูทองแดง จัดสร้างในปีพ.ศ.๒๕๒๑ สาเหตุ การทำหมูทองแดงนั้นสืบเนื่องมาจากในตำนานกล่าวกันว่า หมูทองแดงตามป่าเขาที่เป็นหมูเขี้ยวตันนั้น ปืนยิงไม่เข้า ท่านก็เลยคิดทำวัตถุมงคลเป็นหมูทองแดงเขี้ยวตันขึ้นมา เล่ากันว่าระหว่างที่ท่านปลุกเสกหมูทองแดงร่วมกับพระสงฆ์ที่นิมนต์มาเจริญ พุทธมนต์อยู่ในโบสถ์นั้น มีชาวบ้านเห็นหมูวิ่งเข้าไปในโบสถ์ทั้งๆ ที่รอบโบสถ์ด้านนอกปิดกั้นอย่างดีไม่ให้ใครเข้าไปรบกวนพระสงฆ์ที่เจริญพระ พุทธมนต์และบริกรรมปลุกเสกวัตถุมงคล หลังเสร็จพิธีคนที่พบเห็นเข้าไปบอก ท่านก็เฉยๆแถมหัวเราะอย่างอารมณ์ดี ไม่ได้พูดอะไรแต่รับฟังเอาไว้ ครั้น เมื่อทำหมูทองแดงออกมาแจกกันเป็นที่ฮือฮาพอสมควร หมูทองแดงที่สร้างนั้นเป็นเนื้อทองแดงผสมโลหะ มีหมูทองแดงตัวใหญ่และเล็ก ข้างลำตัวซ้ายมีอักษรเขียนว่า “วัดบางนา ปทุมธานี ๒๕๒๑” ข้างลำตัวด้านขวาเป็นอักขระขอมมียันต์ที่โคนขาทั้ง ๔ ลักษณะเป็นหมูป่าเขี้ยวตัน ต่อมาในปี ๒๕๒๔ ท่านได้จัดสร้างหมู ๗ หัวขึ้นมา เป็นลักษณะหมูป่าเขี้ยวตัน คู้ขาหมอบ ที่เรียกว่า ๗ หัวนั้นหมายถึง หัวของปลัดขิกที่ทำไว้ตามลำตัวมี ๗ แห่งคือ ที่หัว หาง ที่เพศ และที่ปลายเท้าทั้งสี่ข้าง เป็นเนื้อทองแดงผสมโลหะ ข้างลำตัวด้านซ้ายระบุปี พ.ศ.ที่จัดสร้างคือปี ๒๕๒๔ นอกจากนี้ยังทำหมูจัมโบ้ ขนาดใหญ่ออกมาอีก ๑รุ่น หมูทองแดงรุ่นแรกทำออกมาแค่ 2,500 ตัวเท่านั้น พุทธคุณในทางแคล้วคลาด และค้าขาย
หลังจากนั้นท่านได้ทำครุฑทองแดง ซึ่งครุฑเป็นสัตว์ที่มีอำนาจ จัดทำพิธีพุทธาภิเษกในโบสถ์ มีพระอาจารย์มาร่วมบริกรรมพุทธคุณอีก ๑๐ รูป ครุฑทองแดงด้านหลังเขียนว่า “หลวงปู่เส็ง วัดบางนา ปทุมธานี ๒๕๒๒” สลับ กับอักขระขอม ประสบการณ์ มีผู้นำติดตัวไปแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุทางรถและทางเรือ อีกทั้งยังป้องกันภัยจากงูเงี้ยวเขี้ยวขอดีนัก
ต่อมาหลวงปู่จัดสร้างรูปเหมือนหนุมาน เหตุผลที่จัดทำนั้น ท่านถือว่าหนุมานเป็นลิงประจำปีวอกและด้วยหนุมานเองก็ เป็นศิษย์ของพระนารายณ์ มีอานุภาพฤทธิ์เดชมากมาย ที่จัดทำไว้มีเนื้อกะไหล่เงินและทองแดง ไม่ระบุปีจัดสร้าง จาก หมู ครุฑ หนุมาน
ต่อมาท่านก็สร้าง “พญาเต่าเรือน” เนื้อทองแดงผสมโลหะ และหงส์ทอง หงส์เงิน อีก ๑ ชุด เนื้อกะไหล่ทองและกะไหล่เงิน เพื่อเป็นที่ระลึกว่าวัดบางนานั้นเป็นวัดที่ชาวรามัญสร้างขึ้นมา
นอกจากวัตถุมงคลรูปแปลกๆแล้วยังสร้างพระกริ่งรูปเหมือน มี ทั้งแบบหลังตรงและหลังค่อม เนื้อทองแดงผสม ,พระปิดตาเนื้อทองเหลืองผสม,เหรียญรูปไข่ รุ่นขี่วัวเนื้อทองแดงผสม,เหรียญจอบเล็กและจอบใหญ่,เหรียญหยดน้ำเนื้อทองแดง ผสม,รูปหล่อเนื้อผงปิดทอง ส่วน รุ่นใหม่ๆก็มีหลายชนิดทั้งนางกวัก พระผงพิมพ์สมเด็จ พระผงปิดตา เรียกว่าการสร้างวัตถุมงคลของท่านนั้นมากมายจริงๆ ถ้าหากวัตถุ มงคลใดไม่ระบุ พ.ศ. เอาไว้ แทบจะไม่ทราบกันเลยว่าหลวงปู่จัดสร้างปีพ.ศ.ไหน เพราะไม่มีการบันทึกเอาไว้และก็ทำออกมามากแบบ สำหรับเงินรายได้ที่มีผู้นำมาบริจาค หรือบูชาวัตถุมงคล ท่านนำไปสร้างวัดวังหิน อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี และทำนุบำรุงหมู่กุฏิเสนาสนะวัดบางนาที่ชำรุดทรุดโทรม สาเหตุ ที่ท่านไปสร้างวัดวังหินอีกแห่งหนึ่งนั้น เนื่องจากสมัยนั้นชาวบ้านยากจนมาก ถิ่นที่อยู่ก็ทุรกันดารเป็นแหล่งหลบซ่อนของเหล่าเสือปล้น ท่านเกรงว่าชาวบ้าน และลูกหลานจะมีนิสัยดุร้ายไปหมด จึงไปสร้างวัดให้เพื่อบรรเทาจิตใจให้ร่มเย็นลง เพื่อให้ธรรมะได้เข้าถึงจิตใจลูกหลาน และผู้ที่คิดกลับตัว กลับใจหันมาบวชเรียนทำให้ผู้คนมีศีลธรรมขึ้น พอท่านสร้างวัดวังหินเสร็จ วันที่ ๒๑ ม.ค. ๒๕๓๑ ท่านก็มรณภาพลงที่โรงพยาบาลคุ้มเกล้า ตึกคุ้มเกล้า สิริอายุ ๘๗ ปี ปัจจุบันสังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงปู่เส็ง ยังคงประดิษฐานอยู่ในโลงแก้ว เพื่อให้ศิษย์ยานุศิษย์ และสาธุชนที่ระลึกถึงหลวงปู่ได้ไปกราบสักการะ ปัจจุบันคนสามโคกต่างเชื่อว่าบารมีของหลวงปู่ท่าน ยังคงช่วยปกป้องคุ้มครองศิษยานุศิษย์ และผู้เคารพศรัทธาอยู่เสมอ
✅ รับประกันของแท้ 1,000,000 %
(1,000,000 % authentic guaranteed)
[ ระยะเวลาในการรับประกัน 1 ปี ]
✅จัดส่งฟรี EMS ทุกรายการ
✅ สอบถามเพิ่มเติม[Ask more]
สนใจอยากสอบถามพูดคุยหรือต่อรองราคายินดีครับ
Mobile : 063-591-6254 / @Line ID : naruecha99wat
✅ ชมวัตถุมงคลอื่นๆได้ที่
[View other sacred objects at]
www.naruecha.99wat.com |
ราคาปัจจุบัน |
550.-฿ |
จำนวนผู้เข้าชม |
713 ครั้ง |
สถานะ |
เปิดให้บูชา |
|
โดย |
|
ชื่อร้าน |
นะฤาชา 99 วัด ดอทคอม
|
URL |
|
เบอร์โทรศัพท์ |
063-519-6254
|
ID LINE |
naruecha99wat
|
|
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
|
|
|
กำลังโหลดข้อมูล
|
หน้าแรกลงพระฟรี
|
|