พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
พระผงพรหมรังษีท...
พระผงพรหมรังษีที่ระลึกอายุวัฒนมงคล ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร ฯ
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
พระนามเดิม เจริญ คชวัตร ฉายา สุวฑฺฒโน (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรถือเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกดำรงพระยศ21 เมษายน พ.ศ. 2532 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (24 ปี 186 วัน)สถาปนาพ.ศ. 2532
วัดพระศรีรัตนศาสดารามก่อนหน้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณถัดไปสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)พรรษา80สถิตวัดบวรนิเวศราชวรวิหารศาสนาพุทธนิกายธรรมยุติกนิกาย
ประสูติ3 ตุลาคม พ.ศ. 2456
จังหวัดกาญจนบุรี
สิ้นพระชนม์24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (100 ปี 21 วัน)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
พระชนกน้อย คชวัตร
พระชนนีกิมน้อย คชวัตร
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนโตของพระชนกน้อย คชวัตร และพระชนนีกิมน้อย คชวัตร พระองค์มีน้องชาย 2 คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายสมุทร คชวัตร พระชนกของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของนางกิมเฮ้ง หรือกิมเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของพระชนนีกิมน้อยที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดูและนางกิมเฮ้งจึงตั้งชื่อหลานชายผู้นี้ว่า "เจริญ"
พระชนกน้อย คชวัตร เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดสี่คนของเล็ก กับแดงอิ่ม คชวัตร เป็นหลานปู่-หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี ผู้เคยเป็นข้าราชการชาวกรุงเก่ากับนางจีนผู้ภริยาหลวงพิพิธภักดีเป็นหลานยายของท้าวเทกระษัตรีส่วนพระชนนีกิมน้อย หรือน้อย ซึ่งเคยเปลี่ยนชื่อเป็นแดงแก้วนั้น มีบิดาเป็นคนเชื้อสายจีนคือนายเฮงเล็ก แซ่ตั๊น กับมารดาเชื้อสายญวนชื่อนางทองคำครั้นนายเฮงเล็กถึงแก่กรรม นางทองคำจึงสมรสใหม่กับนายสุข รุ่งสว่าง มีบุตรด้วยกัน 4 คน
เมื่อพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จนจบชั้นประถม 5 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีพระชันษา 12 ปี หลังจากนั้น ทรงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ทรงเล่าว่า "เมื่อเยาว์วัยมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย" จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น
บรรพชาและอุปสมบท
เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์นั้นทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ โดยมีอยู่คราวหนึ่งที่ทรงป่วยหนักจนญาติ ๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะให้บวชเพื่อแก้บน แต่เมื่อหายป่วยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถม 5 แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีลภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษา และได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมาคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี”จนกระทั่งพระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำในธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2477) โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
การศึกษาพระปริยัติธรรม
พระองค์ทรงเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมตามคำชักชวนของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปัชฌาย์ ที่ตั้งใจจะให้พระองค์กลับมาสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามและจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้ โดยพระอุปัชฌาย์นำพระองค์ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470 แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาบาลีโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นอาจารย์สอน หลังจากนั้น จึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้เมื่อ พ.ศ. 2472 และทรงสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 3 ประโยค ในปี พ.ศ. 2473พระองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างมากในการสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค แต่ผลปรากฏว่าทรงสอบตก ทำให้ทรงรู้สึกท้อแท้และคิดว่า "คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้ว" แต่เมื่อทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไมจึงสอบตก ก็ทรงตระหนักได้ว่าเหตุแห่งการสอบตกนั้นเกิดจากความประมาทโดยแท้ กล่าวคือ ทรงทำข้อสอบโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้ว ทั้งยังมุ่งอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้น ซึ่งพระองค์ทรงพบว่าเป็นวิธีการเรียนที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พระองค์สอบตก เมื่อพระองค์ทรงตระหนักได้ดังนี้แล้วจึงทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึง พระองค์จึงสอบได้ทั้งนักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค ในปี พ.ศ. 2475
หลังจากนั้น พระองค์ทรงกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่โรงเรียนเทวานุกูล วัดเทวสังฆาราม เพื่อสนองพระคุณพระเทพมงคลรังษีเป็นเวลา 1 พรรษา แล้วจึงทรงกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป โดยทรงสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค โดยในระหว่างที่ทรงอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น พระองค์ก็ยังคงกลับไปช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่เสมอ พระองค์ยังทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในปี พ.ศ. 2484[7]
การปฏิบัติหน้าที่ด้านคณะสงฆ์
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉายภาพหมู่ร่วมกับคณะพระภิกษุสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งทรงผนวชหลังจากที่พระองค์สอบได้เปรียญธรรม 9 แล้ว พระองค์ทรงเริ่มงานอันเกี่ยวเนื่องกับคณะสงฆ์อีกมากมาย ซึ่งนอกเหนือจากเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแล้ว พระองค์ยังเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาของภิกษุสามเณรทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี รวมทั้งทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งในฐานะเป็นพระเปรียญ 9 ประโยค ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการสภาการศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้ง เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์และรักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกาในกาลต่อมา นอกจากนี้ ยังทรงเป็นเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์อีกด้วย
เมื่อมีพระชันษาได้ 34 ปี พระองค์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระโศภนคณาภรณ์ โดยพระองค์ได้รับเลือกจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ให้เป็นพระอภิบาลของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทบ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2499 ต่อมา ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ โดยราชทินนามทั้ง 2 ข้างต้นนั้นเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานแก่พระองค์เป็นรูปแรก[9]
ในปี พ.ศ. 2504 พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาคและเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ในปีเดียวกันนี้เองพระองค์ได้รับการสถาปนาที่ พระสาสนโสภณ[9] พระองค์เข้ารับตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 นอกจากนั้น ยังได้ทรงนิพนธ์ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และตำราด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย[10]
สมเด็จพระสังฆราช
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงสถาปนา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พ.ศ. 2515 พระองค์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนาสมเด็จพระอริยวงษญาณ (สุก ญาณสังวร) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2359 ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น
เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ สมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้นสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2531 ทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิมคือ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ กล่าวคือ สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดยปกติจะใช้ราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งครั้งมีการใช้ราชทินนาม สมเด็จพระญาณสังวร สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นการยกย่องพระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช
หนังสือ “ขอรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช” ที่ พศ 0006/3 วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2547
ในช่วงที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช มีศาสนกิจที่จะต้องเสด็จไปต่างประเทศ พระองค์จะมีพระบัญชาแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช โดยเมื่อครั้งพระองค์เสด็จประเทศจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบทูลอาราธนาของทบวงศาสนกิจ ประเทศจีน และเสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศเนปาล พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้งให้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช[11][12] นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินเดีย พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้งสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช[13][14]

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) เข้าเฝ้าถวายเครื่องสักการะแก่เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาประจำปี 2553 ณ ตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร ชั้น 6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ช่วงปี พ.ศ. 2547 หลังจากที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ประชวรและประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก มหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์ ได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[15] ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้มีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2547 ต่อมา การแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคมจึงได้แต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช โดยประกอบด้วยพระราชาคณะ รวม 7 รูป จากพระอาราม 7 วัด โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ทำหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[16][17]
สิ้นพระชนม์แก้ไข

พระโกศกุดั่นใหญ่ประกอบพระอิสริยยศพระศพ ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:30 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต [1] มีการเคลื่อนพระศพจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มายังตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12:15 นาฬิกา ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงสรงน้ำพระศพในวันเดียวกัน เวลา 17:00 น. ทรงพระกรุณาโปรดถวายพระโกศกุดั่นใหญ่ทรงพระศพแทนพระโกศกุดั่นน้อย ประดิษฐานภายใต้เศวตฉัตรสามชั้น แวดล้อมด้วยเครื่องประกอบพระเกียรติยศ ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร และให้มีพิธีสวดพระอภิธรรมพระศพเจ็ดวัน[18]
การนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระราชทานเลื่อนชั้นยศพระโกศจากพระโกศกุดั่นน้อยเป็นพระโกศกุดั่นใหญ่ตั้งแต่วันแรกที่สิ้นพระชนม์ ครั้นถึงวาระพระราชทานเพลิงพระศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงทรงพระกรุณาโปรดถวายพระโกศทองน้อยทรงพระศพและให้เจ้าพนักงานจัดฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้นกางกั้นพระโกศ[19] ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งถือเป็นกรณีพิเศษเพราะยังไม่เคยปรากฏการพระราชทานเลื่อนพระโกศถึงสองครั้งมาก่อน[20]
สำหรับพระอัฐิของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกประดิษฐาน ณ พระตำหนักเดิม ซึ่งเป็นสถานที่เก็บพระอัฐิของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารทุกรูป ส่วนที่สองประดิษฐานที่วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์ทรงผนวชและส่วนที่สามประดิษฐานที่วัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์สร้างขึ้น ส่วนพระสรีรางคารประดิษฐานที่พระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร[21]
ในปี พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาพระอัฐิของสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในฐานะพระราชกรรมวาจาจารย์เมื่อครั้งทรงผนวช ขึ้นเป็น "สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร" ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพนักงานจัดฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น ถวายกางกั้นพระรูปบรรจุพระสรีรางคาร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แบ่งพระอัฐิบรรจุลงพระโกศทองคำ เชิญมาประดิษฐานในหอพระนาก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นที่ทรงสักการบูชาและทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายในพระฐานะพระบุพการีทางธรรมสืบไป
ผู้เข้าชม
1410 ครั้ง
ราคา
250
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
เจนพระเครือง
ชื่อร้าน
บารมีบุญพระเครื่อง
ร้านค้า
baramebun.99wat.com
โทรศัพท์
0910162844
ไอดีไลน์
rit3009
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 008-8-93615-9
พระผงรูปเหมื่อน พระอุปัทเทยยะ
สมเด็จลายเสือล-ป-ทอง วัดบ้านคู
เหรียญหัวกระโหลกพรายกระซิบ เนื
เหรียญหล่อพระพิฆเณศ รุ่นสุข สำ
ล-ป-ศรี มหาวีโรพระเจ้าบุญล้นพร
ล-ป-ครูบาบุญยัง วัดหนองโคพระกร
ล-ป-คีย์ กิติญาโน วัดศรีลำยอง
ล-ป-คีย์ กิติญาโน วัดศรีลำยอง
เหรียญหล่อพรหมมหาสมบัติ พิมพ
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
เปียโน
หริด์ เก้าแสน
stp253
termboon
Netnapa
tumlawyer
มนต์เมืองจันท์
เอก พานิชพระเครื่อง
บ้านพระสมเด็จ
ชาวานิช
ไกร วรมัน
ชา วานิช
someman
hra7215
jocho
ว.ศิลป์สยาม
เจริญสุข
ภูมิ IR
Le29Amulet
เทพจิระ
โจ๊ก ป่าแดง
น้ำตาลแดง
hopperman
siracha
lord
tplas
ep8600
tintin
เพ็ญจันทร์
mon37
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1648 คน
เพิ่มข้อมูล
พระผงพรหมรังษีที่ระลึกอายุวัฒนมงคล ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร ฯ
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
พระผงพรหมรังษีที่ระลึกอายุวัฒนมงคล ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร ฯ
รายละเอียด
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร
พระนามเดิม เจริญ คชวัตร ฉายา สุวฑฺฒโน (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรถือเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกดำรงพระยศ21 เมษายน พ.ศ. 2532 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (24 ปี 186 วัน)สถาปนาพ.ศ. 2532
วัดพระศรีรัตนศาสดารามก่อนหน้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณถัดไปสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)พรรษา80สถิตวัดบวรนิเวศราชวรวิหารศาสนาพุทธนิกายธรรมยุติกนิกาย
ประสูติ3 ตุลาคม พ.ศ. 2456
จังหวัดกาญจนบุรี
สิ้นพระชนม์24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 (100 ปี 21 วัน)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
พระชนกน้อย คชวัตร
พระชนนีกิมน้อย คชวัตร
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนโตของพระชนกน้อย คชวัตร และพระชนนีกิมน้อย คชวัตร พระองค์มีน้องชาย 2 คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายสมุทร คชวัตร พระชนกของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของนางกิมเฮ้ง หรือกิมเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของพระชนนีกิมน้อยที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดูและนางกิมเฮ้งจึงตั้งชื่อหลานชายผู้นี้ว่า "เจริญ"
พระชนกน้อย คชวัตร เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดสี่คนของเล็ก กับแดงอิ่ม คชวัตร เป็นหลานปู่-หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี ผู้เคยเป็นข้าราชการชาวกรุงเก่ากับนางจีนผู้ภริยาหลวงพิพิธภักดีเป็นหลานยายของท้าวเทกระษัตรีส่วนพระชนนีกิมน้อย หรือน้อย ซึ่งเคยเปลี่ยนชื่อเป็นแดงแก้วนั้น มีบิดาเป็นคนเชื้อสายจีนคือนายเฮงเล็ก แซ่ตั๊น กับมารดาเชื้อสายญวนชื่อนางทองคำครั้นนายเฮงเล็กถึงแก่กรรม นางทองคำจึงสมรสใหม่กับนายสุข รุ่งสว่าง มีบุตรด้วยกัน 4 คน
เมื่อพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จนจบชั้นประถม 5 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีพระชันษา 12 ปี หลังจากนั้น ทรงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ทรงเล่าว่า "เมื่อเยาว์วัยมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย" จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น
บรรพชาและอุปสมบท
เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์นั้นทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ โดยมีอยู่คราวหนึ่งที่ทรงป่วยหนักจนญาติ ๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะให้บวชเพื่อแก้บน แต่เมื่อหายป่วยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถม 5 แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีลภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษา และได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมาคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี”จนกระทั่งพระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำในธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2477) โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
การศึกษาพระปริยัติธรรม
พระองค์ทรงเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมตามคำชักชวนของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปัชฌาย์ ที่ตั้งใจจะให้พระองค์กลับมาสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามและจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้ โดยพระอุปัชฌาย์นำพระองค์ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470 แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาบาลีโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นอาจารย์สอน หลังจากนั้น จึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้เมื่อ พ.ศ. 2472 และทรงสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 3 ประโยค ในปี พ.ศ. 2473พระองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างมากในการสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค แต่ผลปรากฏว่าทรงสอบตก ทำให้ทรงรู้สึกท้อแท้และคิดว่า "คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้ว" แต่เมื่อทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไมจึงสอบตก ก็ทรงตระหนักได้ว่าเหตุแห่งการสอบตกนั้นเกิดจากความประมาทโดยแท้ กล่าวคือ ทรงทำข้อสอบโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้ว ทั้งยังมุ่งอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้น ซึ่งพระองค์ทรงพบว่าเป็นวิธีการเรียนที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พระองค์สอบตก เมื่อพระองค์ทรงตระหนักได้ดังนี้แล้วจึงทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึง พระองค์จึงสอบได้ทั้งนักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค ในปี พ.ศ. 2475
หลังจากนั้น พระองค์ทรงกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่โรงเรียนเทวานุกูล วัดเทวสังฆาราม เพื่อสนองพระคุณพระเทพมงคลรังษีเป็นเวลา 1 พรรษา แล้วจึงทรงกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป โดยทรงสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค โดยในระหว่างที่ทรงอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น พระองค์ก็ยังคงกลับไปช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่เสมอ พระองค์ยังทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในปี พ.ศ. 2484[7]
การปฏิบัติหน้าที่ด้านคณะสงฆ์
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงฉายภาพหมู่ร่วมกับคณะพระภิกษุสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งทรงผนวชหลังจากที่พระองค์สอบได้เปรียญธรรม 9 แล้ว พระองค์ทรงเริ่มงานอันเกี่ยวเนื่องกับคณะสงฆ์อีกมากมาย ซึ่งนอกเหนือจากเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแล้ว พระองค์ยังเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาของภิกษุสามเณรทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี รวมทั้งทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งในฐานะเป็นพระเปรียญ 9 ประโยค ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการสภาการศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้ง เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์และรักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกาในกาลต่อมา นอกจากนี้ ยังทรงเป็นเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์อีกด้วย
เมื่อมีพระชันษาได้ 34 ปี พระองค์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระโศภนคณาภรณ์ โดยพระองค์ได้รับเลือกจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ให้เป็นพระอภิบาลของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทบ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2499 ต่อมา ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ โดยราชทินนามทั้ง 2 ข้างต้นนั้นเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานแก่พระองค์เป็นรูปแรก[9]
ในปี พ.ศ. 2504 พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาคและเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ในปีเดียวกันนี้เองพระองค์ได้รับการสถาปนาที่ พระสาสนโสภณ[9] พระองค์เข้ารับตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 นอกจากนั้น ยังได้ทรงนิพนธ์ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และตำราด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย[10]
สมเด็จพระสังฆราช
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงสถาปนา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
พ.ศ. 2515 พระองค์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนาสมเด็จพระอริยวงษญาณ (สุก ญาณสังวร) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2359 ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น
เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ สมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้นสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2531 ทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิมคือ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ กล่าวคือ สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดยปกติจะใช้ราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งครั้งมีการใช้ราชทินนาม สมเด็จพระญาณสังวร สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นการยกย่องพระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช
หนังสือ “ขอรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช” ที่ พศ 0006/3 วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2547
ในช่วงที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช มีศาสนกิจที่จะต้องเสด็จไปต่างประเทศ พระองค์จะมีพระบัญชาแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช โดยเมื่อครั้งพระองค์เสด็จประเทศจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบทูลอาราธนาของทบวงศาสนกิจ ประเทศจีน และเสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศเนปาล พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้งให้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช[11][12] นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินเดีย พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้งสมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช[13][14]

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) เข้าเฝ้าถวายเครื่องสักการะแก่เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาประจำปี 2553 ณ ตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร ชั้น 6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
ช่วงปี พ.ศ. 2547 หลังจากที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ประชวรและประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก มหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์ ได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[15] ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้มีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2547 ต่อมา การแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคมจึงได้แต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช โดยประกอบด้วยพระราชาคณะ รวม 7 รูป จากพระอาราม 7 วัด โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ทำหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[16][17]
สิ้นพระชนม์แก้ไข

พระโกศกุดั่นใหญ่ประกอบพระอิสริยยศพระศพ ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:30 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต [1] มีการเคลื่อนพระศพจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มายังตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12:15 นาฬิกา ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงสรงน้ำพระศพในวันเดียวกัน เวลา 17:00 น. ทรงพระกรุณาโปรดถวายพระโกศกุดั่นใหญ่ทรงพระศพแทนพระโกศกุดั่นน้อย ประดิษฐานภายใต้เศวตฉัตรสามชั้น แวดล้อมด้วยเครื่องประกอบพระเกียรติยศ ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร และให้มีพิธีสวดพระอภิธรรมพระศพเจ็ดวัน[18]
การนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระราชทานเลื่อนชั้นยศพระโกศจากพระโกศกุดั่นน้อยเป็นพระโกศกุดั่นใหญ่ตั้งแต่วันแรกที่สิ้นพระชนม์ ครั้นถึงวาระพระราชทานเพลิงพระศพ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงทรงพระกรุณาโปรดถวายพระโกศทองน้อยทรงพระศพและให้เจ้าพนักงานจัดฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้นกางกั้นพระโกศ[19] ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งถือเป็นกรณีพิเศษเพราะยังไม่เคยปรากฏการพระราชทานเลื่อนพระโกศถึงสองครั้งมาก่อน[20]
สำหรับพระอัฐิของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกประดิษฐาน ณ พระตำหนักเดิม ซึ่งเป็นสถานที่เก็บพระอัฐิของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารทุกรูป ส่วนที่สองประดิษฐานที่วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์ทรงผนวชและส่วนที่สามประดิษฐานที่วัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์สร้างขึ้น ส่วนพระสรีรางคารประดิษฐานที่พระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร[21]
ในปี พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาพระอัฐิของสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในฐานะพระราชกรรมวาจาจารย์เมื่อครั้งทรงผนวช ขึ้นเป็น "สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร" ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพนักงานจัดฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น ถวายกางกั้นพระรูปบรรจุพระสรีรางคาร ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แบ่งพระอัฐิบรรจุลงพระโกศทองคำ เชิญมาประดิษฐานในหอพระนาก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นที่ทรงสักการบูชาและทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายในพระฐานะพระบุพการีทางธรรมสืบไป
ราคาปัจจุบัน
250
จำนวนผู้เข้าชม
1415 ครั้ง
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
เจนพระเครือง
ชื่อร้าน
บารมีบุญพระเครื่อง
URL
http://www.baramebun.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0910162844
ID LINE
rit3009
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 008-8-93615-9
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี