ท้าวกุเวรเนื้อผงกระดูกผีหลวงปู่สมบูรณ์ สำนักสงฆ์เขาพลอยปลุกเสก ณ. สำนักสงฆ์ร้างอ.ซวนเนื้อแดงสองสี ผสมงาช้าง จีวรหมายเลข86 จัดสร้าง 99 องค์
|
ส่งข้อความ
|
|
ชื่อพระเครื่อง |
ท้าวกุเวรเนื้อผงกระดูกผีหลวงปู่สมบูรณ์ สำนักสงฆ์เขาพลอยปลุกเสก ณ. สำนักสงฆ์ร้างอ.ซวนเนื้อแดงสองสี ผสมงาช้าง จีวรหมายเลข86 จัดสร้าง 99 องค์ |
รายละเอียด |
ท้าวกุเวร
ในศาสนาพุทธ รู้จักกันมากในนามว่า ท้าวเวสสวัณ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาล อดีตชาติ ในยุคสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า ท้าวกุเวรเกิดเป็นพราหมณ์ ชื่อ กุเวรพราหมณ์ เขามีไร่อ้อยจำนวนมาก และมีหีบหนีบน้ำอ้อยถึง ๗ หีบ ทำให้เขามีรายได้มาก จนเขาร่ำรวยขึ้น เขาได้สร้างศาลาที่พักในเมืองถึง ๑๐ แห่ง และแจกน้ำอ้อยแก่ผู้ที่มาพัก และได้ทำทานตลอดชีวิต เป็นเวลา ๒๐,๐๐๐ ปี ตามอายุขัยของคนยุคนั้น และได้ไปเกิดเป็นท้าวกุเวร มีผิวกายดั่งสีน้ำอ้อย ปกครองพวกยักษ์ อยู่ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทางด้านทิศเหนือ นอกจากนี้ท้าวกุเวรยังมีกระบอง ชื่อว่า มหากาล ที่สามารถทำลายล้างโลกธาตุได้อีกด้วย ในทางพุทธศาสนา ฝ่ายวัชรยาน ท้าวกุเวร มีนามว่า พระชัมภละ ถือเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ส่วนในศาสนาเชนจะเรียกเทพองค์นี้ว่า ศารวนุภูติ (Sarvanubhuti) มี ๔ พักตร์ ๘ กร กายสีรุ้ง ทรงช้างเป็นพาหนะ
ฤคเวท
ท้าวกุเวร ในฤคเวท เป็นยักษ์แคระ ถือเป็นเทพแห่งโจรและการลักทรัพย์ อาศัยอยู่ตามป่าเขา ถ้ำลึก คอยเฝ้าอัญมณีและทรัพย์สมบัติ พวกโจรนิยมบูชาท้าวกุเวร เพื่อให้ช่วยเหลือในการปล้น คอยปกป้องคุ้มภัยจากภูตผีปีศาจ และคอยเฝ้าทรัพย์สมบัติ
คัมภีร์ปุราณะ
ท้าวกุเวร ในคัมภีร์ปุราณะ เป็นบุตรของพระวิศรวะมุนี กับนางอิลาวิฑา และเป็นหลานของฤๅษีปุลัสตยะ ในอดีตชาติ ท้าวกุเวร เกิดเป็นพราหมณ์ ชื่อ ยาคทัตต์ มีนิสัยชอบลักขโมย วันหนึ่งถูกเหล่าทหารไล่ตามจับ จึงได้เข้าไปหลบในเทวาลัยร้างของพระศิวะ และได้จุดไฟขึ้นบูชาพระศิวะ ทำให้พระศิวะทรงพอพระทัย หลังจากนั้นยาคทัตต์ก็ถูกทหารจับได้และต้องโทษประหาร หลังจากที่เขาตาย ยมทูตได้มารับวิญญาณของเขา แต่พระศิวะทรงส่งสาวกไปรับวิญญาณของเขา และส่งเขาไปเกิดใหม่ ยาคทัตต์ได้เกิดเป็นบุตรของท้าวอรินทมะ แห่งแคว้นกลิงคะ ชื่อว่า ทัมพกุมาร และได้ทำพิธีบูชาพระศิวะด้วยการจุดประทีปอยู่ทุกเวลา เมื่อเขาตายแล้วจึงได้มากำเนิดใหม่เป็นบุตรของพระวิศรวะมุนี มีนามว่า พระไวศรวัณ ได้บำเพ็ญตบะจนพระศิวะพอพระทัย และทรงแต่งตั้งให้เป็นเทพแห่งทรัพย์ และเป็นเทพโลกบาลประจำทิศเหนือ และได้ปกครองกรุงลงกา ต่อมาราวณะได้มาทำสงครามและแย่งเมืองลงกาและบุษบกวิมานไป พระศิวะจึงทรงมอบเมืองใหม่ให้ ชื่อว่า อลกา อยู่บนยอดเขาคันธมาทน์
นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ท้าวกุเวร มีความอหังการว่า ตัวเองเป็นเทพที่มีทรัพย์สมบัติมาก และต้องการอวดความร่ำรวย จึงได้ทูลเชิญเหล่าเทพและพระพิฆเนศ มาร่วมงานฉลองที่พระราชวังของตน แต่ไม่ว่าท้าวกุเวรจะนำอาหารมาถวายพระพิฆเนศมากเท่าไร ก็ไม่อาจทำให้พระองค์อิ่มได้ พระพิฆเนศจึงกลืนกินทรัพย์สมบัติและพระราชวังของท้าวกุเวรจนหมดสิ้น พระกุเวรจึงต้องไปขอความช่วยเหลือจากพระปารวตี พระนางทรงมอบข้าวให้ท้าวกุเวรถ้วยหนึ่งและทำให้พระพิฆเนศทรงอิ่ม และยอมคายทรัพย์สมบัติ และพระราชวังคืนให้แก่ท้าวกุเวร
ท้าวกุเวร ในคติไทย เป็นยักษ์มีกายสีทอง หรือ สีเขียว มีกายใหญ่กำยำ นัยน์ตาเป็นประกายลุกดังเพลิง มี ๒ กร ๓ ขา ทรงกระบองเป็นอาวุธ ปากแสยะ ตาโพลง สวมมงกุฎน้ำเต้า สวมอาภรณ์สีทอง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำและอัญมณี ทรงม้าเป็นพาหนะ ในคติฮินดู เป็นเทพบุรุษกายสีทอง บ้างก็ว่าสีแดง รูปร่างอ้วน ท้องใหญ่ ตัวเล็ก นัยน์ตาสีทอง มี ๒ กร กรหนึ่งทรงคทา กรหนึ่งอุ้มพังพอน สวมมงกุฎทองคำ มีรัศมีสีทอง สวมอาภรณ์สีทอง ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำและอัญมณี ประทับนั่งบนบัลลังก์ ทรงม้าเป็นพาหนะ บ้างก็ทรงมนุษย์ ท้าวกุเวร ยังมีนามอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระไวศรวัณ,พระยักษราช,พระมยุราช,พระธนบดี,พระธเนศวร,พระธนัท,พระอิจฉาวสุ,พระรากษเสนทร์,พระรากษสาธิปติ,พระนรราช,พระนรวาหนะ,พระอีศะสขี
ท้าวเวสสุวรรณ เป็นเทพเจ้าแห่งยักษ์ เป็นหนึ่งในจาตุมหาราช ผู้คุ้มครองและดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ทรงอิทธิฤทธิ์อานุภาพมากประทับ ณ โลกบาลทิศเหนือ ท้าวเวสวัณคือท้าวกุเวร ในศาสนาฮินดู
คนไทยโบราณนิยมนำผ้ายันต์รูปยักษ์ผูกไว้ที่หัวเตียงเด็กเพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้มารังควานแก่เด็ก ท้าวกุเวรองค์นี้มีกล่าวถึงในอาฏานาฏิยปริตรว่านำเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ถวายสัตย์ที่จะดูแลพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกไม่ให้ยักษ์หรือบริวารอื่น ๆ ของท้าวจตุโลกบาลไปรังควาน
สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 หน้า 1439 กล่าวถึงท้าวกุเวรหรือท้าวเวสวัณไว้ว่า กุเวร-ท้าว พระยายักษ์ผู้เป็นเจ้าแห่งขุมทรัพย์มียักษ์ และคุยหกะ (ยักษ์ผู้เฝ้าขุมทรัพย์) เป็นบริวาร ท้าวกุเวรนั้น บางทีก็เรียกว่าท้าวไวศรวัน (เวสสุวรรณ) ภาษาทมิฬเรียก "กุเวร" ว่า "กุเปรัน" ซึ่งมีเรื่องอยู่ในรามเกียรติ์ว่า เป็นพี่ต่างมารดาของทศกัณฐ์ และทศกัณฐ์ไปแย่งบุษบกของท้าวกุเวรไป ท้าวกุเวรมีรูปร่างพิการผิวขาว มีฟัน 8 ซี่ และมีขาสามขา (ภาพท้าวเวสวัณจึงมักเขียนท่ายืนแยงแย ถือไม้กระบองยาว อยู่หว่างขา) เมืองท้าวกุเวรชื่อ "อลกา" อยู่บนเขาหิมาลัย มีสวนอุทยานอยู่ไหล่เขาแห่งหนึ่งของเขาพระสุเมรุ ชื่อว่า "สวนไจตรต" หรือ "มนทร" มีพวกกินนรและคนธรรพ์เป็นผู้รับใช้ ท้าวกุเวรเป็นโลกบาลประจำทิศเหนือ คนจีนเรียกว่า "โต้เหวน" หรือ "โต้บุ๋น" คนญี่ปุ่นเรียกว่า "พสมอน"
ท้าวกุเวรนี้สถิตอยู่ยอดเขายุคนธรอีสานราชธานี มีสระโกธาณีใหญ่ 1 สระ ชื่อ ธรณี กว้าง 50 โยชน์ ในน้ำ ดารดาษไปด้วยประทุมชาติ และคลาคล่ำไปด้วย หมู่สัตว์น้ำต่างพรรณ ขอบสระมีมณฑปชื่อ "ภคลวดี" กว้างใหญ่ 12 โยชน์ สำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ปกคลุมด้วยเครือเถาภควดีลดาวัลย์ ซึ่งมีดอกออกสะพรั่งห้อยย้อยเป็นพวงพู ณ สถานที่นี้ เป็นสโมสรสถานของเหล่ายักษ์บริวาร และยังมีนครสำหรับเป็นที่แปรเทพยสถานอีก 10 แห่ง ท้าวกุเวรมียักษ์เป็นเสนาบดี 32 ตน ยักษ์รักษาพระนคร 12 ตน ยักษ์เฝ้าประตูนิเวศ 12 ตน ยักษ์ที่เป็นทาส 9 ตน
นอกจากนี้ยังมีกล่าวว่า ท้าวเวสวัณยังมีกายสีเขียว สัณฐานสูง 2 คาวุต ประมาณ 200 เส้น มีอาวุธเป็นกระบอง มีพาหนะ ช้าง ม้า รถ บางทีปราสาท อาภรณ์มงกุฎประดับรูปนาค ดำรงอิสริยศเป็นเจ้าแห่งยักษ์ มีบริวารแสนโกฏิ ถือโล่แก้วประพาฬ หอกทอง
ในประเทศไทยมีคติการบูชาท้าวเวสวัณอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเรียกเทพเจ้าองค์นี้ว่า พระไพศรพณ์ ตามนามในภาษาสันสกฤต ไวศฺรวณ มือขวาถือตะบอง มือซ้ายยกเสมอหน้าอกแสดงการห้ามปรามมิให้(เทวดา)ทำผิด เนื่องจากมีหน้าที่รักษาความเรียบร้อยยุติธรรมในสวรรค์ ถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ของอัยการมานาน คาดว่าตั้งแต่แรกตั้งกรมอัยการเมื่อกว่า ๑๐๐ ปีมาแล้วเนื่องจากยกกระบัตร (ชื่อเรียกอัยการในสมัยโบราณ) หรืออัยการในปัจจุบันก็มีหน้าที่รักษาความยุติธรรมและกฎหมายเช่นเดียวกับหน้าที่ของพระไพศรพณ์ในสวรรค์ แต่ยังตรวจไม่พบหลักฐานว่าได้มีประกาศเป็นทางการให้ใช้รูปพระไพศรพณ์เป็นเครื่องหมายราชการของอัยการตั้งแต่เมื่อใด
สัญลักษณ์ของอัยการแก้ไข
ตามพระราชกฤษฎีกาเครื่องแบบข้าราชการอัยการและระเบียบการแต่งกายฯ พ.ศ. 2524 กำหนดเครื่องแบบข้าราชการอัยการซึ่งรวมถึงเครื่องหมายที่ประดับอินทรธนู จึงตรวจสอบดูปรากฏคำว่า "รูปพระไพศรพณ์" เป็นโลหะสีทองซึ่งกฎหมายนี้กำหนดวิธีการใช้ ดังนี้
กรณีเครื่องแบบพิธีการ เช่น เครื่องแบบปกติขาว เครื่องแบบเต็มยศ ฯลฯ ให้ติดทับอยู่บนอินทรธนูค่อนมาทางด้านไหล่
สำหรับเครื่องแบบสีกากีคอพับ กับเครื่องแบบสีกากีคอแบะ ให้ประดับทับอยู่บนพื้นอินทรธนูภายในขมวดวงกลม ฐานของรูปพระไพศรพณ์อยู่เหนือแถบต้น (กรณีอัยการชั้น 3 ขึ้นไป) หรืออยู่บนแถบที่สองของอินทรธนู (กรณีอัยการชั้น 1 และชั้น 2)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ได้มีกฎหมายออกมากำหนดให้ข้าราชการอัยการใช้เครื่องหมายนี้มาประดับบนอินทรธนูเพื่อบ่งแสดงให้เห็นว่าข้าราชการอัยการแตกต่างจากข้าราชการพลเรือน และต่อมาในปี พ.ศ. 2513 ก็ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดให้ใช้รูปท้าวกุเวร (หรือท้าวเวสสุวรรณ) เป็นเครื่องหมายราชการของกรมสารวัตรทหารบกซึ่งเป็นหน่วยงานรักษาความสงบเรียบร้อยของฝ่ายทหาร
ส่วนพระไพศรพณ์ยังคงเป็นสัญญลักษณ์ประดับบ่าเสื้อเครื่องแบบอัยการทั้งสองข้างตลอดมา และในปี พ.ศ. 2535 สำนักงานอัยการสูงสุดก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้รูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของตราแผ่นดินวางอยู่บนตราชั่งซึ่งเป็นเครื่องหมายของนักกฎหมาย ประกอบกับอีก 3 รูปรวมกันเป็นเครื่องหมายราชการของสำนักอัยการสูงสุด คือ พระแว่นสุริยกานต์ พระขรรค์ รองรับด้วยช่อชัยพฤกษ์
รูปตราใหม่นี้ถือเป็นเครื่องหมายราชการของหน่วยงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2535 ในวาระที่หน่วยงานของอัยการได้เปลี่ยนแปลงสถานะภาพจากหน่วยงานระดับกรมขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย มาเป็นสำนักงานไม่สังกัดกระทรวง ส่วนพนักงานอัยการในปัจจุบันรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆได้ขยายบทบาทออกไปมาก รวมทั้งกำหนดหน้าที่อัยการไปถึงเรื่องทางการเมืองเพราะอัยการมีหน้าทีต้องอำนวยความยุติธรรมทางการเมืองด้วยนั่นเอง
|
ราคาปัจจุบัน |
450 |
จำนวนผู้เข้าชม |
813 ครั้ง |
สถานะ |
บูชาแล้ว |
|
โดย |
|
ชื่อร้าน |
บารมีบุญพระเครื่อง
|
URL |
|
เบอร์โทรศัพท์ |
0910162844
|
ID LINE |
rit3009
|
|
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
|
1. ธนาคารกสิกรไทย / 008-8-93615-9
|
|
กำลังโหลดข้อมูล
|
หน้าแรกลงพระฟรี
|
|