พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เหรียญพระลีลาหล...
เหรียญพระลีลาหลังนางกวัก(พิมพ์ใหญ่) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี 2513
เหรียญพระลีลาหลังนางกวัก(พิมพ์ใหญ่)
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี 2513 เนื้อทองแดงกะหลั่ยทอง (จุดประสงค์การสร้าง เพื่อสร้างวัดไทยไว้ที่แคว้นพาราณสี ประเทศอินเดีย)

ขอนำประวัติมาลงให้อ่านครับ

หลังจากเคยเขียนเรื่องเหรียญหน้าวัวเล็ก เหรียญเจ้าปัญหาแห่งวัดดอนยายหอมไปแล้วนั้น ยังปรากฏว่ามีเหรียญที่อยู่ในชุดดังกล่าวที่จัดว่าเป็นพระเจ้าปัญหาอีกรุ่นของวัดดอนยายหอม เพราะคนส่วนใหญ่ยังคงสับสนและมักจะคาดเดาหรือมั่วเอาว่าเป็นพระที่ออกวัดอื่น พอได้มีโอกาสนั่งคุยกับพี่แจ็ค อบต. ที่บ่นเรื่องนี้ให้ฟังและขอให้เขียนชัดๆ อีกสักที ก็เลยหาโอกาสบรรยายมาในวันนี้เลยแล้วกัน

ก่อนอื่นต้องขอเล่าปัญหาก่อนว่าเหรียญมฤคทายวัน พาราณสีนั้นมีปัญหาอย่างไรบ้าง ประการแรกเลยคือบางคนอาจจะรู้จักพระในชุดนี้เพียงรุ่นเดียวคือเหรียญหน้าวัวเล็กเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วในชุดนี้ยังมีพระที่สร้างมาพร้อมกัน คือเหรียญประทานพรใบมะขาม และเหรียญกลมปางปาฏิหาริย์ แต่น่าเสียดายที่คนรู้จักกลับมีน้อยมาก

ส่วนปัญหาที่ 2 ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่จริงๆ คือความไม่รู้ในเรื่องประวัติสร้างแล้วไปคาดเดาเอาว่าพระนั้นออกวัดอื่น สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะการระบุรุ่นหลังเหรียญว่า มฤคทายวัน พาราณสี ทำให้คนส่วนใหญ่ไปเข้าใจว่าพระชุดนี้คือไปออกที่วัดมฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการระบุหลังเหรียญ และในวงการพระแล้วมีวัดมฤคทายวันที่เป็นที่รู้จักอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี ที่เป็นพระเครื่องมีชื่อเสียงและสร้างออกมาในยุคไล่เลี่ยกับสมัยหลวงพ่อเงิน อีกทั้งอยู่ไม่ไกลกันมาก คนจึงพาลไปคิดเช่นนั้น ดังนั้นจึงขอสาธยายให้กระจ่างชัดเสียในวันนี้เลย
ว่ากันด้วยประวัติสร้างนั้นไม่ต้องไปสงสัยว่าออกกันที่วัดมฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรีหรอกครับ ขอบอกเลยว่าพระรุ่นนี้ทั้งหมดดำริจัดสร้างและออกกันที่วัดดอนยายหอมเลย โดยหลวงพ่อเงินนี่ล่ะครับที่ประสงค์ให้สร้างออกมาด้วยตัวท่านเอง จุดประสงค์นั้นคือทางประเทศไทยต้องการสร้างวัดไทยไว้ที่แคว้นพาราณสี ประเทศอินเดีย ณ จุดที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมจักรกัปวัตรสูตร อันทำให้เกิดพระอรหันต์รูปแรก เป็นการครบพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครั้งแรกในโลก (เหตุการณ์ที่เกิดในวันอาสาฬหบูชา) โดยตั้งชื่อวัดว่ามฤคทายวันมหาวิหารนั่นเอง

ความเรื่องนี้ทราบถึงหลวงพ่อเงิน แห่งวัดดอนยายหอมที่ท่านเองเคยไปจาริกธรรมที่นั่น อีกทั้งในฐานะพระราชาคณะที่พระราชธรรมาภรณ์ ย่อมมีหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมพระศาสนาคณะสยามนิกายให้รุ่งเรือง ท่านจึงได้รับเป็นประธานอุปฐากในการจัดสร้างนั่นเอง แต่ในการจะเป็นประฐานผู้สนับสนุนนั้นจำเป็นต้องมีเงินเป็นทุนรอนพอสมควร ซึ่งแม้วัดดอนยายหอมจะมีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น และมีลูกศิษย์เคยถวายเงินปัจจัยให้หลวงพ่อเสมอมา แต่หลวงพ่อเงินท่านมิได้เคยสนใจในทรัพย์สินภายนอก เมื่อได้มาท่านมักจะสร้างถาวรวัตถุในวัดหรือสาธารณะประโยชน์ให้แก่ชาวบ้านทั่วไป จนแม้แต่ในวันที่ท่านมรณภาพวัดดอนยายหอมเองมีเงินติดวัดแค่ 700 บาทเท่านั้นเอง (ในปี 2520 ก็ยังถือว่าน้อยมากอยู่ดี)

เมื่อหลวงพ่อรับเป็นประธานอุปฐากแล้วแต่ทางวัดดอนยายหอมไม่ได้มีทรัพย์มากพอจะสนับสนุนด้วยตนเองได้ หลวงพ่อเงินจึงดำริจัดสร้างพระเครื่องขึ้นมาสักชุดหนึ่งเพื่อหารายได้ แต่ไม่ทราบว่าท่านเป็นผู้ตัดสินใจเองหรือไม่ในการสร้างออกมาถึง 3 รุ่น ในชุดเดียวกันนี้ และไม่ปรากฏชัดว่าเหตุใดจึงมีการทำพิธีปลุกเสกใหญ่โตกว่าทุกรุ่นของท่าน ส่วนตัวผมเดาเอาว่าเนื่องจากการสร้างวัดไทยมฤคทายวันนี้ เป็นงานใหญ่ของพุทธสมาคม ที่มีพระราชาคณะหลายรูปเกี่ยวข้อง จึงเสนอให้พร้อมทั้งนิมนต์พระราชาคณะและเกจิหลายรูปร่วมปลุกเสก ซึ่งในยุคสมัยนั้นกำลังนิยมที่จะจัดงานใหญ่และนิมนต์หลวงพ่อดังๆ หลายรูปมาร่วมกันเสก

ว่ากันด้วยพิธีการสร้างไม่แน่ชัดว่าไปเสกกันที่ใด แต่จากที่ถามผู้รู้สายวัดดอนว่ากันว่าเสกที่อุโบสถวัดดอนยายหอมนี่เลย และจากหนังสือเก่าที่ได้ข้อมูลจากคุณอภิชาตบุญแล้ว พบว่ามีเกจิชื่อดังทั้งสิ้น 10 รูปร่วมกันปลุกเสก เรียงรายนามตามหนังสือดังนี้

1.)​ พระพุทธวิถีนายก หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม
2.)​ พระราชธรรมาภรณ์ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม
3.)​ พระครูกัลป์ยาณกิตติ หลวงพ่อกี๋ วัดแหลมมะขาม จังหวัดตราด
4.)​ พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร
5.)​ พระอาจารย์สมภพ หลวงพ่อสาลีโข วัดสาลีโขภิตาราม จังหวัด
นนทบุรี
6.)​ พระครูเมธีวรานุวัตร วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร
7.)​ พระครูนนทกิจสุนทร หลวงพ่อลุ่ม วัดลุ่มคงคาราม จังหวัดนนทบุรี
8.)​ พระครูปลัดแช่ม หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม
9.)​ พระครูสังฆรักษ์จันทร์ วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
10.)​ พระครูใบฎีกาเติม วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม

(ข้อมูลจากหนังสือมฤคทายวันมหาวิหาร ขอบคุณ คุณอภิชาตบุญเจ้าของหนังสือที่ได้ลงเผยแพร่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม)

ภายหลังจากที่ได้จัดสร้างเสร็จแล้วมีการแบ่งพระออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกได้มอบให้กับพระครูประกาศสมาธิคุณ เพื่อมอบให้พระรัตนกวี ที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งต่อมาวัดมหาธาตุก็ได้นำออกจำหน่ายเพื่อนำรายได้ไปสร้างวัดตามจุดประสงค์ ส่วนพระชุดที่ 2 หลวงพ่อเงินได้เก็บไว้ที่วัดดอนยายหอม เปิดให้เช่านำเงินไปร่วมสมทบทุนในการนี้ และตอบแทนผู้ที่ร่วมทำบุญในกองผ้าป่าสร้างวัดมฤคทายวัน ซึ่งต่อมาได้มีการทอดผ้าป่ากันในวันที่ 18 กรกฎาคม 2513 ตรงกับวันอาสาฬหบูชานั่นเอง โดยกองผ้าป่าได้รับเงินบริจาคทั้งสิ้น 17,208.25 บาท ซึ่งหลวงพ่อเงินได้มอบให้กับพระครูประกาศสมาธิคุณไปในวันนั้น

โดยสรุปใจความให้ชัดเจนอีกครั้งคือพระชุดนี้สร้างกันในปี 2513 โดยวัดดอนยายหอมจัดสร้างเองตามความประสงค์ของหลวงพ่อเงิน แต่มีการจัดพิธีใหญ่โตเพราะเดาว่า​ วัดมหาธาตุยุวราช​รังสฤษฎ์​ ท่าพระ​จันทร์​ กรุงเทพมหานคร​ เป็นเจ้าภาพ เสกกันในวัดดอนยายหอม แล้วแยกพระออก 2 ชุด ชัดเจนเลยคือออกกันที่วัดดอนยายหอมด้วยแน่นอน และพระในชุดนี้มีด้วยกัน 3 รุ่น ซึ่งจะขออธิบายต่อไป ดังนั้นขอความกรุณาท่านที่ได้เข้ามาอ่านพบแล้วต่อไปจะได้ลงขายหรือลงโชว์ในที่ต่างๆ อย่าระบุเอาว่าพระชุดนี้ไปออกที่วัดมฤคทาวัน เพราะจะทำให้สับสนเสียเปล่าๆ

ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง
ผู้เข้าชม
2438 ครั้ง
ราคา
1250
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
ยังไม่เปิดร้านค้า
ร้านค้า
-
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
kunchaiko
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงไทย / 980-4-89652-4

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
Le29Amulethoppermanเปียโนยุ้ย พลานุภาพพรเมืองโขงKumpang
tongta29tatingtatingsomphopเอ๊กซ์ ด่านขุนทดเทพจิระบ้านพระสมเด็จ
chaithawatพญาครุฑpatpraramha99อุทรกรัญระยองErawan
ภูมิ IRChumpholhw451เจริญสุขโกหมูเนินพระ99
boonyakiatมนต์เมืองจันท์natthanetchaokohบ้านพระหลักร้อยชาวานิช

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1442 คน

เพิ่มข้อมูล

เหรียญพระลีลาหลังนางกวัก(พิมพ์ใหญ่) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี 2513




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
เหรียญพระลีลาหลังนางกวัก(พิมพ์ใหญ่) หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี 2513
รายละเอียด
เหรียญพระลีลาหลังนางกวัก(พิมพ์ใหญ่)
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม ปี 2513 เนื้อทองแดงกะหลั่ยทอง (จุดประสงค์การสร้าง เพื่อสร้างวัดไทยไว้ที่แคว้นพาราณสี ประเทศอินเดีย)

ขอนำประวัติมาลงให้อ่านครับ

หลังจากเคยเขียนเรื่องเหรียญหน้าวัวเล็ก เหรียญเจ้าปัญหาแห่งวัดดอนยายหอมไปแล้วนั้น ยังปรากฏว่ามีเหรียญที่อยู่ในชุดดังกล่าวที่จัดว่าเป็นพระเจ้าปัญหาอีกรุ่นของวัดดอนยายหอม เพราะคนส่วนใหญ่ยังคงสับสนและมักจะคาดเดาหรือมั่วเอาว่าเป็นพระที่ออกวัดอื่น พอได้มีโอกาสนั่งคุยกับพี่แจ็ค อบต. ที่บ่นเรื่องนี้ให้ฟังและขอให้เขียนชัดๆ อีกสักที ก็เลยหาโอกาสบรรยายมาในวันนี้เลยแล้วกัน

ก่อนอื่นต้องขอเล่าปัญหาก่อนว่าเหรียญมฤคทายวัน พาราณสีนั้นมีปัญหาอย่างไรบ้าง ประการแรกเลยคือบางคนอาจจะรู้จักพระในชุดนี้เพียงรุ่นเดียวคือเหรียญหน้าวัวเล็กเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วในชุดนี้ยังมีพระที่สร้างมาพร้อมกัน คือเหรียญประทานพรใบมะขาม และเหรียญกลมปางปาฏิหาริย์ แต่น่าเสียดายที่คนรู้จักกลับมีน้อยมาก

ส่วนปัญหาที่ 2 ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่จริงๆ คือความไม่รู้ในเรื่องประวัติสร้างแล้วไปคาดเดาเอาว่าพระนั้นออกวัดอื่น สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะการระบุรุ่นหลังเหรียญว่า มฤคทายวัน พาราณสี ทำให้คนส่วนใหญ่ไปเข้าใจว่าพระชุดนี้คือไปออกที่วัดมฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรี ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการระบุหลังเหรียญ และในวงการพระแล้วมีวัดมฤคทายวันที่เป็นที่รู้จักอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี ที่เป็นพระเครื่องมีชื่อเสียงและสร้างออกมาในยุคไล่เลี่ยกับสมัยหลวงพ่อเงิน อีกทั้งอยู่ไม่ไกลกันมาก คนจึงพาลไปคิดเช่นนั้น ดังนั้นจึงขอสาธยายให้กระจ่างชัดเสียในวันนี้เลย
ว่ากันด้วยประวัติสร้างนั้นไม่ต้องไปสงสัยว่าออกกันที่วัดมฤคทายวัน จังหวัดเพชรบุรีหรอกครับ ขอบอกเลยว่าพระรุ่นนี้ทั้งหมดดำริจัดสร้างและออกกันที่วัดดอนยายหอมเลย โดยหลวงพ่อเงินนี่ล่ะครับที่ประสงค์ให้สร้างออกมาด้วยตัวท่านเอง จุดประสงค์นั้นคือทางประเทศไทยต้องการสร้างวัดไทยไว้ที่แคว้นพาราณสี ประเทศอินเดีย ณ จุดที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมจักรกัปวัตรสูตร อันทำให้เกิดพระอรหันต์รูปแรก เป็นการครบพระรัตนตรัยคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครั้งแรกในโลก (เหตุการณ์ที่เกิดในวันอาสาฬหบูชา) โดยตั้งชื่อวัดว่ามฤคทายวันมหาวิหารนั่นเอง

ความเรื่องนี้ทราบถึงหลวงพ่อเงิน แห่งวัดดอนยายหอมที่ท่านเองเคยไปจาริกธรรมที่นั่น อีกทั้งในฐานะพระราชาคณะที่พระราชธรรมาภรณ์ ย่อมมีหน้าที่สนับสนุนและส่งเสริมพระศาสนาคณะสยามนิกายให้รุ่งเรือง ท่านจึงได้รับเป็นประธานอุปฐากในการจัดสร้างนั่นเอง แต่ในการจะเป็นประฐานผู้สนับสนุนนั้นจำเป็นต้องมีเงินเป็นทุนรอนพอสมควร ซึ่งแม้วัดดอนยายหอมจะมีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น และมีลูกศิษย์เคยถวายเงินปัจจัยให้หลวงพ่อเสมอมา แต่หลวงพ่อเงินท่านมิได้เคยสนใจในทรัพย์สินภายนอก เมื่อได้มาท่านมักจะสร้างถาวรวัตถุในวัดหรือสาธารณะประโยชน์ให้แก่ชาวบ้านทั่วไป จนแม้แต่ในวันที่ท่านมรณภาพวัดดอนยายหอมเองมีเงินติดวัดแค่ 700 บาทเท่านั้นเอง (ในปี 2520 ก็ยังถือว่าน้อยมากอยู่ดี)

เมื่อหลวงพ่อรับเป็นประธานอุปฐากแล้วแต่ทางวัดดอนยายหอมไม่ได้มีทรัพย์มากพอจะสนับสนุนด้วยตนเองได้ หลวงพ่อเงินจึงดำริจัดสร้างพระเครื่องขึ้นมาสักชุดหนึ่งเพื่อหารายได้ แต่ไม่ทราบว่าท่านเป็นผู้ตัดสินใจเองหรือไม่ในการสร้างออกมาถึง 3 รุ่น ในชุดเดียวกันนี้ และไม่ปรากฏชัดว่าเหตุใดจึงมีการทำพิธีปลุกเสกใหญ่โตกว่าทุกรุ่นของท่าน ส่วนตัวผมเดาเอาว่าเนื่องจากการสร้างวัดไทยมฤคทายวันนี้ เป็นงานใหญ่ของพุทธสมาคม ที่มีพระราชาคณะหลายรูปเกี่ยวข้อง จึงเสนอให้พร้อมทั้งนิมนต์พระราชาคณะและเกจิหลายรูปร่วมปลุกเสก ซึ่งในยุคสมัยนั้นกำลังนิยมที่จะจัดงานใหญ่และนิมนต์หลวงพ่อดังๆ หลายรูปมาร่วมกันเสก

ว่ากันด้วยพิธีการสร้างไม่แน่ชัดว่าไปเสกกันที่ใด แต่จากที่ถามผู้รู้สายวัดดอนว่ากันว่าเสกที่อุโบสถวัดดอนยายหอมนี่เลย และจากหนังสือเก่าที่ได้ข้อมูลจากคุณอภิชาตบุญแล้ว พบว่ามีเกจิชื่อดังทั้งสิ้น 10 รูปร่วมกันปลุกเสก เรียงรายนามตามหนังสือดังนี้

1.)​ พระพุทธวิถีนายก หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม
2.)​ พระราชธรรมาภรณ์ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม
3.)​ พระครูกัลป์ยาณกิตติ หลวงพ่อกี๋ วัดแหลมมะขาม จังหวัดตราด
4.)​ พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร
5.)​ พระอาจารย์สมภพ หลวงพ่อสาลีโข วัดสาลีโขภิตาราม จังหวัด
นนทบุรี
6.)​ พระครูเมธีวรานุวัตร วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร
7.)​ พระครูนนทกิจสุนทร หลวงพ่อลุ่ม วัดลุ่มคงคาราม จังหวัดนนทบุรี
8.)​ พระครูปลัดแช่ม หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม
9.)​ พระครูสังฆรักษ์จันทร์ วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
10.)​ พระครูใบฎีกาเติม วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม

(ข้อมูลจากหนังสือมฤคทายวันมหาวิหาร ขอบคุณ คุณอภิชาตบุญเจ้าของหนังสือที่ได้ลงเผยแพร่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม)

ภายหลังจากที่ได้จัดสร้างเสร็จแล้วมีการแบ่งพระออกเป็น 2 ชุด ชุดแรกได้มอบให้กับพระครูประกาศสมาธิคุณ เพื่อมอบให้พระรัตนกวี ที่วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งต่อมาวัดมหาธาตุก็ได้นำออกจำหน่ายเพื่อนำรายได้ไปสร้างวัดตามจุดประสงค์ ส่วนพระชุดที่ 2 หลวงพ่อเงินได้เก็บไว้ที่วัดดอนยายหอม เปิดให้เช่านำเงินไปร่วมสมทบทุนในการนี้ และตอบแทนผู้ที่ร่วมทำบุญในกองผ้าป่าสร้างวัดมฤคทายวัน ซึ่งต่อมาได้มีการทอดผ้าป่ากันในวันที่ 18 กรกฎาคม 2513 ตรงกับวันอาสาฬหบูชานั่นเอง โดยกองผ้าป่าได้รับเงินบริจาคทั้งสิ้น 17,208.25 บาท ซึ่งหลวงพ่อเงินได้มอบให้กับพระครูประกาศสมาธิคุณไปในวันนั้น

โดยสรุปใจความให้ชัดเจนอีกครั้งคือพระชุดนี้สร้างกันในปี 2513 โดยวัดดอนยายหอมจัดสร้างเองตามความประสงค์ของหลวงพ่อเงิน แต่มีการจัดพิธีใหญ่โตเพราะเดาว่า​ วัดมหาธาตุยุวราช​รังสฤษฎ์​ ท่าพระ​จันทร์​ กรุงเทพมหานคร​ เป็นเจ้าภาพ เสกกันในวัดดอนยายหอม แล้วแยกพระออก 2 ชุด ชัดเจนเลยคือออกกันที่วัดดอนยายหอมด้วยแน่นอน และพระในชุดนี้มีด้วยกัน 3 รุ่น ซึ่งจะขออธิบายต่อไป ดังนั้นขอความกรุณาท่านที่ได้เข้ามาอ่านพบแล้วต่อไปจะได้ลงขายหรือลงโชว์ในที่ต่างๆ อย่าระบุเอาว่าพระชุดนี้ไปออกที่วัดมฤคทาวัน เพราะจะทำให้สับสนเสียเปล่าๆ

ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง
ราคาปัจจุบัน
1250
จำนวนผู้เข้าชม
2443 ครั้ง
สถานะ
ยังอยู่
โดย
ชื่อร้าน
ยังไม่เปิดร้านค้า
URL
-
เบอร์โทรศัพท์
0844617882
ID LINE
kunchaiko
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
2. ธนาคารกรุงไทย / 980-4-89652-4




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี